สภาพปัจจุบันและความคาดหวังการพัฒนาของบุคลากรสำนักงานอัยการสูงสุด ในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

บุษบา กรุดเนียม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการพัฒนาของบุคลากรสำนักงานอัยการสูงสุด ในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) ศึกษาความคาดหวังการพัฒนาของบุคลากรสำนักงานอัยการสูงสุด ในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสำนักงานอัยการสูงสุด ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 126 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการพัฒนาของบุคลากรสำนักงานอัยการสูงสุด ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาตนเอง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการศึกษาดูงาน 2) ความคาดหวังการพัฒนาของบุคลากรสำนักงานอัยการสูงสุด ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาตนเอง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการส่งบุคลากรไปศึกษาต่อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 ทรงศักดิ์ ทิอ่อน,“ปัญหาและความต้องการด้านการพัฒนาบุคลากรขององค์กรบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์”, ภาคนิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, 2550.
2 กิตติพงษ์ คำแหง,“สภาพและความต้องการพัฒนาครูสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สหวิทยาเขตสุขุมชล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1”, วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 2549.
3 อัญชลี โกกะนุช,“สภาพปัจจุบันและความคาดหวังของบุคลากรที่มีต่อการบริหารผลปฏิบัติงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย”, วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 2550.
4 ปรีชา เกตุผดุง,“สภาพและความต้องการพัฒนาบุคลากรของครูผู้สอน โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1”, วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2549.
5 ชลอ สืบศักดิ์,“สภาพปัจจุบันและความคาดหวังต่อการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านหลักสูตรและกระบวนการการเรียนการสอน ตามแนวปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี”,วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร มหาบันฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี, 2549.
6 วันชัย จันทะดาลา, “สภาพปัจจุบันและความต้องการ และแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาศาสตร์สังคม มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว”,วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 2552.
7 พระมหาชิษณพงค์ ศรจันทร์,“ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากร ในมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย”, วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารศึกษา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2546.
8 โกเมนทร์ พร้อมจะบก,“สภาพและความต้องการการพัฒนาของบุคลากรสายสนับสนุนการสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”, วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2550.