ความต้องการด้านงานบริการวิชาการของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการด้านงานบริการวิชาการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 2) ศึกษาความพึงพอใจด้านงานบริการวิชาการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และ 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจด้านงานบริการวิชาการของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยการทดสอบด้วยวิธีแอลเอสดี ผลการศึกษาพบว่า 1) ความต้องการด้านงานบริการวิชาการของนักศึกษา 5 ลำดับแรก ได้แก่ ภาษาต่างประเทศ จิตอาสา การวิจัย โปรแกรมสำเร็จรูปของคอมพิวเตอร์ และการส่งเสริมสุขภาพ 2) ความพึงพอใจด้านงานบริการวิชาการของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นแบบรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ วิทยากร หลักสูตรการบริการวิชาการ กระบวนการ สิ่งอำนวยความสะดวก เจ้าหน้าที่ และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และ 3) นักศึกษาที่สังกัดคณะต่างกันมีความพึงพอใจด้านงานบริการวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2 หัสดินทร์ สอนปะละ,“การศึกษาความพึงพอใจในการให้บริการ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีการศึกษา 2555”, รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2555.