ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะหลักของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

อัจฉรา หล่อตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มประชากรจำนวน 194 คน ซึ่งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน ผลการวิจัย โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ตัวบ่งชี้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะทุกตัวบ่งชี้มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ตัวแปรมีความสัมพันธ์กันสามารถนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบได้ ข้อมูลเหมาะสมที่จะทำการวิเคราะห์องค์ประกอบดีมาก ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของพนักงานมหาวิทยาลัย พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัย พบว่า ตัวแปรการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมมากที่สุด รองลงมา คือ ตัวแปรการทำงานเป็นทีม ตัวแปรการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ ตัวแปรการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และตัวแปรการบริการที่ดี ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507, 2507.
2 มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2542, สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2557 สืบค้นจาก http://www.cau.ku.ac.th/01_intro/resolution /2542_10_12.htm.
3 ราชกิจจานุเบกษา, “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551”, 2551
4 มณี ชินณรงค์, “ประสิทธิผลการบริหารจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ”, 2553.
5 สุรัตน์ ดวงชาทม, “การพัฒนาสู่ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ : กรณีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 2”, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2549.
6 พิสมัย พวงคำ, “สมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น”, รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.
7 มณีรัตน์ ฉัตรอุทัย, “การศึกษากรอบสมรรถนะและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะของผู้ให้บริการห้องสมุดของสำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง”, รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2550.
8 ฎายิน วงศ์หงส์, “แนวทางการพัฒนาสมรรถนะข้าราชการ กลุ่มงานปกครอง ของนักปกครองระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย”, รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550.
9 ชัยพงษ์ กองสมบัติ, “สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดหนองคาย”, รายงานวิจัย, ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2548.
10 เจณศจี ไพบูลย์สวัสดิ์, “การศึกษาขีดความสามารถของหัวหน้าแผนกสังกัดฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ :กรณีศึกษาองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย”, วิทยานิพนธ์, โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, กรุงเทพฯ, สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์, 2543.
11 บดินทร์ อินทร์พันธ์, “สมรรถนะหลักและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของพนักงานบริษัทมอนซานโต้ไทยแลนด์ จำกัด”, บทความวิจัย, คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2558, สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2558, สืบค้นจาก http://www.bec.nu.ac.th/bec-web/graduate/.