การศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ปูริดา ลำถึง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพ ปัญหาและแนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วิธีดำเนินงานวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา 2) การศึกษาแนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) ปลัดหรือรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 2) นักวิชาการศึกษาหรือผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลเรื่องการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 3) ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สรุปโดยภาพรวม มีการสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการด้านบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีส่วนน้อยที่มีการสำรวจวิเคราะห์งบประมาณ 2) ปัญหาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สรุปโดยภาพรวม ไม่ค่อยมีงบประมาณในการบริหารจัดการและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ชุมชนในท้องถิ่นไม่ค่อยให้ความร่วมมือ และ 3) แนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิจัยโดยภาพรวม พบว่า 1) ด้านการวิเคราะห์สภาพ/ความต้องการ สรุปแนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา มี 4 ข้อ 2) ด้านการวางแผนดำเนินงานร่วมกับ คณะผู้บริหาร สรุปแนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา มี 3 ข้อ 3) ด้านการประชุมผู้ปกครองและเครือข่ายผู้ปกครอง สรุปแนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา มี 4 ข้อ 4) การดำเนินการตามแผนงาน สรุปแนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา มี 3 ข้อ และ 5) การติดตามการประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน สรุปแนวทางการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา มี 4 ข้อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 สำนักงานประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น, “มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองท้องถิ่น”, 2553, หน้า. 4-20.
2 กระทรวงศึกษาธิการ, “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545”, 2546, หน้า. 27.
3 โสรดา จิตรฉาย, “การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2555, หน้า. 157-158.
4 วีระวัชร์ สุนทรนันท, “การพัฒนาแนวทางการวางแผน การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษาในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา กรณีศึกษา : โรงเรียนวัดศรีภวังค์โรงเรียนวัดทำใหม่ โรงเรียนวัดลาดละหงส์”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2551, หน้า. 53.
5 ปภัชษา ยิ่งยงวรชัย, “การพัฒนาแนวทางการนำชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอ่างทอง”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2554, หน้า. 93.
6 สมลักษณ์ ภูคำแสน, “การศึกษาบทบาทของชุมชนต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดขอนแก่น”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2540, หน้า. 6.