การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ด้านการบริหารงานวิชาการ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

พิเศษ ปิ่นเกตุ
ชิดชัย สนั่นเสียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ด้านการบริหารงานวิชาการ หลักสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ในช่วงปี พ.ศ. 2544-2555 จำนวน 67 เล่ม โดยใช้แบบบันทึกคุณลักษณะการวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลพื้นฐานของงานวิจัย พบว่า เรื่องที่มีผู้สนใจศึกษาและนำมาทำวิทยานิพนธ์มากที่สุดคือเรื่องระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษาปีที่มีการพิมพ์วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการมากที่สุดได้แก่ พ.ศ. 2548 2) ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการของงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ มีเนื้อหาที่พบมากที่สุดได้แก่ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยที่พบมากที่สุดได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่พบมากที่สุดได้แก่ การเลือกแบบเจาะจง ชนิดของเครื่องมือที่นำมาใช้ในการวิจัยมากที่สุดได้แก่ แบบสอบถาม การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมากที่สุดได้แก่ การหาค่าความเที่ยงตรง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมากที่สุด คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3) ข้อมูลเกี่ยวกับ การบริหารงานวิชาการผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษามีกระบวนการ 13 ขั้นตอน การวัดผลประเมินผลและการดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนมีกระบวนการ 9 ขั้นตอน การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้มีกระบวนการ 12 ขั้นตอน การนิเทศการศึกษามีกระบวนการ 9 ขั้นตอน การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษามีกระบวนการ 11 ขั้นตอน และการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยี เพื่อการศึกษามีกระบวนการ 6 ขั้นตอน ผลการสังเคราะห์ผลการวิจัยโดยรวมสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด สภาพปัญหา การดำเนินงานอยู่ในระดับน้อยที่สุดถึงมาก ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดและระดับความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 C. V Good, “Dictionary of Edukation”, New York, McGraw-Hill, (3rd ed), 1973, p. 608.
2 บุญชม ศรีสะอาด, “การพัฒนาการทำวิทยานิพนธ์”, กรุงเทพ, สุวีริยสาส์น, 2546, หน้า. 47.
3 ศรีสุดา ปรุงหอม, “วิเคราะห์วิธีวิทยาการวิจัยของวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาการวิจัยทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่พิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2534-2543”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2545.
4 บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้, “คู่มือการเขียนวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้”, เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2558, หน้า. 1.
5 นงลักษณ์ วิรัชชัย, “การวิเคราะห์อภิมาน”, กรุงเทพฯ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542, หน้า. 30.
6 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, “แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2553-2559)”, กรุงเทพฯ, พริกหวานกราฟฟิค, 2553, หน้า. 111-112.
7 รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ, “การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน”, พิมพ์ครั้งที่ 5, สงขลา,มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2554, หน้า. 30.
8 วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร, “ปฏิรูปการศึกษาแนวคิดและข้อเสนอแนะ”, กรุงเทพฯ, วศิระ, 2553, หน้า. 81.
9 อุทัย บุญประเสริฐ, “หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน”, กรุงเทพ ฯ, เอส. ดีเพรส, 2540, หน้า. 35.
10 วิศิษฐ์ ชาญสุข, “การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2549, หน้า. 13.
11 กมล ภู่ประเสริฐ, “รูปแบบการบริหารและการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจ”, กรุงเทพฯ, พริกหวานกราฟฟิค, 2545, หน้า. 104-106.
12 ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, “การบริหารงานวิชาการ”, ปัตตานี, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, (พิมพ์ครั้งที่ 2), 2546, หน้า. 2.
13 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, “แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550”, กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2550, หน้า. 28–29.
14 ธีระพร อายุวัฒน์, “แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก”, ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552, หน้า. 82.
15 โสภนา สุดสมบูรณ์, “การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ในประเทศไทย”, ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550, หน้า. 89, 226.
16 ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์, “การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการวัดผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2549, หน้า. 49-52.
17 ยุพาพรรณ จงพิพัฒนสุข, “การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2544-2548”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2550, หน้า. 73.
18สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, “เอกสารประชาสัมพันธ์เพื่อการปฏิรูปการศึกษา”, กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2546, หน้า. 6.