แนวทางการบริหารจัดการโครงการบริการสังคม กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ธาตรี มหันตรัตน์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการโครงการบริการสังคม เพื่อหารายได้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา นอกเหนือจากเงินงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและเป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานที่จัดทำบริการสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ที่จะพิจารณานำไปใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะทางการศึกษาต่อไป สำหรับประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหารหน่วยงาน และผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งผู้ใช้บริการจากบุคคลภายนอก โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์อย่างหลากหลาย ผลการศึกษาวิจัยพบว่าแนวทางการบริหารจัดการ ประกอบด้วย ด้านโครงสร้างการบริหาร การจัดทำโครงการ ด้านกระบวนการและระเบียบการให้บริการสังคมปรากฏว่ายังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างเหมาะสมที่หน่วยงานบริการสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จะนำแนวทางการบริหารจัดการไปดำเนินการตามเป้าหมายได้ ผลการวิจัยพบว่าหน่วยงานบริการสังคม หน่วยงานระดับคณะ สถาบันหรือสำนักที่สามารถจัดลำดับประเภทกิจกรรมการให้บริการทางวิชาการสังคมได้อย่างหลากหลาย ได้แก่ งานที่ปรึกษาลักษณะโครงการแก่หน่วยงานภายนอก งานวิจัย งานทดสอบ หรือตรวจสอบ งานฝึกอบรมระยะสั้น สัมมนา หรือบรรยาย เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547, 2547.
2 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542, 2542.
3 สุรพล นิติไกรพจน์, “มหาวิทยาลัยไทย:พัฒนาการมหาวิทยาลัยในกำกับและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ”, กรุงเทพมหานคร, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.
4 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ว่าด้วยการบริหารงบประมาณและการเงิน พ.ศ.2548, 2548.
5 ระเบียบ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ว่าด้วยการบริหารจัดการเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย พ.ศ.2556, 2556.
6 รายงานประจำปี 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2558.