การวางแผนทรัพยากรมนุษย์เพื่อแก้ไขปัญหาการสร้างเครือข่ายภารกิจชุมชน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

แสงจิตต์ ไต่แสง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการวางแผนทรัพยากรมนุษย์เพื่อแก้ไขปัญหาการสร้างเครือข่ายภารกิจชุมชน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสำรวจและการสัมภาษณ์เจาะลึก รวมทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ ผู้ประกอบการและสมาชิกที่เป็นเครือข่ายธุรกิจ จำนวน 152 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การหาคุณภาพของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธ์แอลฟ่า (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและสมาชิกที่เป็นเครือข่ายธุรกิจ เท่ากับ 0.965  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่   ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า การวางแผนทรัพยากรมนุษย์เพื่อแก้ไขภารกิจชุมชน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่  สมาชิกกลุ่มสามารถแก้ปัญหาภายในกิจการตนเองเป็นอย่างดีอยู่ในระดับมาก สมาชิกกลุ่มรู้จักวิธีการแก้ไขปัญหาต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับมาก และสมาชิกกลุ่มมีการประชุมกลุ่มผู้ค้าเพื่อร่วมแก้ปัญหาอยู่ในระดับมาก ส่วนการสร้างเครือข่ายภารกิจชุมชน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่    แนวทางการพัฒนาธุรกิจของตนเองอย่างต่อเนื่องอยู่ในระดับมาก สมาชิกกลุ่มมีการเรียนรู้อย่ารอบรอบในการดำเนินธุรกิจอย่างพอเพียงอยู่ในระดับมาก และสมาชิกกลุ่มมีการเรียนรู้ในการเลือกซื้อวัตถุดิบในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สรุปสาระสำคัญรายงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 5 ปี แผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 (2555 - 2559), ผู้แต่ง, 2560.
2.หมัดเฟาซี รูบามา, ปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจการเมืองชุมชนที่ส่งผลต่อการจัดสรรกาไรส่วนเกินเพื่อพัฒนาชุมชนในจังหวัดสงขลา : กรณีศึกษากลุ่มเศรษฐกิจชุมชน, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 2559.
3.ทศพร ศิริสัมพันธ์, “ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่เศรษฐกิจยั่งยืนด้วยงานวิจัย,” วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, ปีที่ 1, ฉบับที่ 2, หน้า 1 – 5, 2556.
4.วิเชียร วิทยอุดม, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์, 2557.
5.A. CroweJ, Community Economic Development trategies in Rural Washington: Toward a Synthesis of Natural and Social Capital, Rural Sociology,71(4): 573-596, 2006.
6.ปาณวัฒน์ อุทัยเลิศ, “การจัดการธุรกิจชุมชนของตลาดริมน้ำดอนหวาย ตําบลบางกระทึก อําเภอสามพรานจังหวัดนครปฐม,” วิทยานิพนธ์ปริญญา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, มหาวิทยาลัยบูรพา,2551.
7.ธนาธร ภูพันเชือก และนภาพรรณ พัฒนฉัตรชัย, “การพัฒนาธุรกิจชุมชนกรณีศึกษา สุรากลั่นชุมชน จังหวัดสุรินทร์,” รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 2551.
8.สุริชาติ จงจิตต์, “แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพลังงานทางเลือกของชุมชน,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนาศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
9.D. DeCenzo & S. Robbins, Human resource management, (6th ed.), John Wiley & Son, 1996.
10.สุจิตรา ธนานันท์, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2550.
11.พรสินทร์ กาญจนพัชชี, “การศึกษาความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ในองค์การภาครัฐและเอกชน,” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล,
2551.