การพัฒนารูปแบบการบริหารธุรกิจกลุ่มอาชีพกระเป๋าสานเส้นพลาสติก ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

พวงทอง วรรณีเวชศิลป์
กิตติวงค์ กิตติวงค์
ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ
จรัสศรี หัวใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารธุรกิจของกลุ่มอาชีพกระเป๋าสานเส้นพลาสติก อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) พัฒนารูปแบบการบริหารธุรกิจที่มีพื้นฐานอยู่บนกรอบความคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารธุรกิจที่มีพื้นฐานอยู่บนกรอบความคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างสำหรับทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ สมาชิกกลุ่มอาชีพกระเป๋าสานเส้นพลาสติก อำเภอพนมสารคาม จำนวน 133 คน เครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารธุรกิจกลุ่มอาชีพกระเป๋าสานเส้นพลาสติก อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรามี ดังนี้ : (1.1) การออกแบบที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว (1.2) เทคโนโลยี (1.3) กระบวนการผลิต (1.4) ความคิดสร้างสรรค์ของผลิตภัณฑ์ และ (1.5) การท่องเที่ยว 2) รูปแบบการบริหารธุรกิจที่มีกรอบความคิดอยู่บนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประกอบด้วย องค์ประกอบ 3 ด้าน (2.1) การบริหารจัดการ (2.2) การผลิต และ (2.3) การตลาด รูปแบบดังกล่าวมีจุดเน้น คือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ การใช้วัสดุท้องถิ่น การผสมผสานภูมิปัญญา/วัฒนธรรมท้องถิ่นลงในผลิตภัณฑ์ การคำนึงถึงความต้องการของตลาด เทคโนโลยี การกำหนดราคา และการประชาสัมพันธ์ 3) รูปแบบได้รับการประเมินโดยคณะผู้เชี่ยวชาญซึ่งเห็นพ้องต้องกันว่ารูปแบบดังกล่าวมีความเหมาะสมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มอาชีพอื่นๆ ซึ่งมีบริบทคล้ายกันได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.วิจารณ์ พานิช, “การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ, ”สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้, 2549.
2.จิตตรา มาคะผล,“แนวทางการส่งเสริมชุมชนสร้างสรรค์ในประเทศไทย,” วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
3.Yamane, Taro, Statistics: an introductory analysis. New York: Harper and Row. 1973.
4.Kotler, P. Marketing Management. (The Millennium Ed.). New Jersey: Prentice-Hall, Inc., 2000.
5.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, ธุรกิจชุมชน เส้นทางที่เป็นไปได้, กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท. 2550.
6.เอกชัย พุ่มดวง และยุสนีย์ โสมทัศน์, “กระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมตามแนวเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มอาชีพ ในตำบลโคกโคเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี, ”วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, Supplementary, ปีที่ 7, ฉบับที่พิเศษ หน้า 10-24, 2559.
7.อัษฎางค์ รอไธสง, “การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ลวดลายเฉพาะถิ่นงานทอเสื่อกกกลุ่มพนมรุ้งเสื่อกกและหัตถกรรม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์,” วารสารวิชาการ ศิลปะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 7 ฉบับที่ 3, หน้า 160-169, 2559.
8.นารินี อุดุลทิฐิพัชร. (20 ธันวาคม 2559) ปัจจัยความสำเร็จและหลักเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจากhttp://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/ article_detail.php?ArticleID=157747.
9.สังวาลย์ สงกูล และวิไลวรรณ สมโสภณ, “การพัฒนาเศรษฐกิจที่อิงอยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรม: กรณีหัตถกรรมเครื่องจักสานของ องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า,” วารสารการบริหารท้องถิ่น, ปีที่ 4, ฉบับที่ 4, หน้า 87-99, 2554.
10.ชไมพร สับสุโท และคณะ “กลยุทธ์การพัฒนากลุ่มอาชีพเพื่อ เพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขัน กรณีศึกษากลุ่มอาชีพทอผ้าลายสายฝน ตำบลบ้านกิ่ว อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง,” ลำปาง: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 2554.
11.เดชวิทย์ นิลวรรณ, การบริหารทรัพยากรมนุษย์, เชียงใหม่: หจก. ธนุชพริ้นติ้ง, 2548.
12.จินตนา สมสวัสดิ์ และคณะ, “การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์แหล่งเที่ยวเชียงนิเวศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,”รายงานการวิจัยสาขาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.
13.ณัฐพัชญ์ เอกสิริชัยกุล, “รูปแบบการจัดการห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจจัดเลี้ยงจังหวัดนครปฐมตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์,” ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชา พัฒนศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
14.Eisner. E. Education Connoisseurship and Criticism: Their Form and Functions in Educational Evaluation. Journal of Aesthetic Education,1976, pp.192-193.
15.นงค์ลักษณ์ ตั้งปรัชญากูล, “แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์,” วารสารบัณฑิตศึกษา, ปีที่ 11, ฉบับที่ 53, หน้า. 125 -132, 2557.
16.ฮามีเสาะ เจ๊ะเด็ง, “แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพสตรีเครื่องแกงขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา,” วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองส่วนท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2558.