การประเมินความสามารถในการแข่งขันและปัจจัยที่ส่งผล ต่อความสามารถในการแข่งขันกรณีศึกษา ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ

Main Article Content

ศุภลักษณ์ ศรีวิไลย
สราวุธ ลักษณะโต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินความสามารถในการแข่งขันของท่าเรือพาณิชย์สัตหีบในปัจจุบันและ  ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ จำนวน 137 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)  โดยวิธี stepwise ผลการวิจัยพบว่าการประเมินความสามารถในการแข่งขันของท่าเรือพาณิชย์สัตหีบในปัจจุบัน ได้แก่ ปัจจัยด้านการกำหนดลักษณะการเลือกท่าเรือมีค่าเฉลี่ยคะแนนโดยรวมมากที่สุด gif.latex?\bar{x}  เท่ากับ 3.61 และค่า S.D. เท่ากับ 0.62 ซึ่งอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะในประเด็น ความเหมาะสมของที่ตั้งของท่าเรือ แสดงให้เห็นถึง ความได้เปรียบของตำแหน่งที่ตั้งของท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ส่วนปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือมีค่าค่าเฉลี่ยคะแนนโดยรวมต่ำที่สุด  gif.latex?\bar{x}เท่ากับ 3.42 และค่า S.D. เท่ากับ 0.51 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ด้วย สถิติถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัว ได้แก่ ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือ และปัจจัยด้านเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสาร มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่า F=33.640 มีค่า P=0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.01 ตัวแปรอิสระทั้งสองสามารถร่วมกันพยากรณ์ความสามารถในการแข่งขันของท่าเรือพาณิชย์สัตหีบได้ร้อยละ 32.40 และสามารถสร้างสมการพยากรณ์ ความสามารถในการแข่งขันของท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y = 1.178 + 0.383*(ด้านโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือ) + 0.291*(ด้านเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.329*(ด้านโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือ)+0.290*(ด้านเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.ไทยรัฐออนไลน์. (27 มิถุนายน 2560). จุดเปลี่ยนประเทศไทย 4.0 จัดทัพลงทุนระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/ content/881941.
2.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (27 มิถุนายน 2560). โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก. สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6382.
3.ประชาชาติธุรกิจ. (5 เมษายน2560). พลิกโฉมท่าเรือจุกเสม็ดรับ EEC เชื่อมคมนาคม"บก-น้ำ-อากาศ. สืบค้นจาก http://www.prachachat.net/ news_detail.php?newsid=1468383736
4.บุญฑริกา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา และ วรพจน์ มีถม, “การกำหนดปัจจัยในการประเมินศักยภาพของท่าเรือด้านการขนส่งสินค้า,” การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2556, หน้าที่ 254-262.
5.Yeo, G.-T., Roe, M., & Dinwoodie, J. “Evaluating the competitiveness of container ports in Korea and China,” Transportation Research Part A: Policy and Practice, 42(6), pp.910-921, 2008.
6.Caldeirinha, V., Felicio J A., & Dionisio, A. “Effect of the container terminal Characteristics on performance,” Cefage-Ue Working paper, 2013.
7.Tongzon, J., & Heng, W. “Port privatization, efficiency and competitiveness: Some empirical evidence from container ports (terminals),” Transportation Research Part A: Policy and Practice, 39(5), pp.405-424, 2005.
8.Zarei, S. “The Key Factors in Shipping Company’s Port Selection for Providing Their Supplies,” International Journal of Social, Behavioral, Educational, Economic, Business and Industrial Engineering Vol. 9, No.4, 2015, pp.1317-1321.
9.ประคอง กรรณสูต, สถิติเพื่อการวิจัยทาง พฤติกรรมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรุบปรุง แก้ไข. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.