การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติวินัยและการรักษาวินัยของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

ชัชพิสิฐพงศ์ ธาดาสุขเกษม
วีรภัทร ภัทรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพและปัญหาการการปฏิบัติวินัยและการรักษาวินัยของข้าราชการครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 128 คน ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) แนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติวินัยและการรักษาวินัยของข้าราชการครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 18 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานศึกษามีการปฏิบัติวินัยและการรักษาวินัยของข้าราชการครูภาพรวมอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน ได้แก่ วินัยต่อประเทศชาติ วินัยต่อประชาชน/ผู้เรียน วินัยต่อผู้บังคับบัญชา วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ วินัยต่อตนเอง อยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน ได้แก่ วินัยต่อเพื่อนร่วมงาน โดยปัญหาที่ต้องหาแนวทางแก้ไข ได้แก่ การกลั่นแกล้ง กล่าวหา ใส่ร้าย หรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง การไม่ช่วยเหลือข้าราชการด้วยกัน หรือผู้ร่วมปฏิบัติงานในการทำงานทำให้เกิดความเสียหาย และการไม่รักษาความสามัคคี 2)แนวทางแก้ปัญหาการปฏิบัติวินัยและการรักษาวินัยของข้าราชการครู ที่มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด  ได้แก่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับวินัยข้าราชการครูโดยให้ความรู้แบบ“ กรวยประสบการณ์ ตามแนวคิดของ เอดการ์ เดล  2 พัฒนาให้ผู้บริหารมีภาวะผู้นำโดยพัฒนาคุณลักษณะผู้นำ และการจูงใจ 3 เสริมสร้างจรรยาบรรณวิชาชีพครูตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพครู

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ชัชพิสิฐพงศ์ ธาดาสุขเกษม, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

The first purpose of this research was to study the current states and problems of teachers’ disciplinary and maintaining their disciplines by using 128 administrators as samples that were selected by simple random sampling and  5-scale questionnaire as research instrument, and the obtained data were statistically analyzed for percentage, mean, and standard deviation. The second purpose of this study was to examine the guidelines for solving the teachers’ disciplinary problems and maintaining their by using 18 professionals as samples that were selected by purposive sampling and 5-scale questionnaire as research instrument, and the obtained data were . statistically analyzed for mean and standard deviation. The results showed that the schools exercised and maintained high levels of 5 teachers’ disciplines, including the discipline for the nation, discipline for people and students, discipline for superiors, discipline for the profession, and their self-discipline, but moderate level of the discipline for  their colleagues. Therefore, there were problems needed to be solved, including bullying, accusation, slander or complaints without truth, refusing to help the others or co-workers and discordance. The results also suggested that the proper guidelines for solving the teachers’ disciplinary problems and maintaining their disciplines should be 1) giving them the knowledge of disciplines, 2) developing the leadership and motivating characteristics of the school administrators, and 3) enforcing the code of ethics of teaching profession.

References

1.กระทรวงศึกษาธิการ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2553, 2555.
2.กรมวิชาการ,พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542, 2542.
3.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา, การดำเนินการทางวินัยราชการ, กองพัฒนาบุคคล กระทรวงศึกษาธิการ, 2550.
4.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1, คู่มือวินัยและการรักษาวินัย, พระนครศรีอยุธยา, 2553.
5.พวงรัตน์ ทวีรัตน์, วิธีการวิจัยทางพฤติศาสตร์ และสังคมศาสตร์,พิมพ์ครั้งที่7, สำนักทดสอบทางการศึกษา และจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2543.
6.ยุทธ ไกยวรรณ์, สถิติสำหรับการวิจัย, สถาบันราชภัฏพระนครม, 2544.
7.Fenton-LeShore, K.S. (2004), A Correlation Analysis among Organizational Citizenship Behavior, Teacher Job Satisfaction, and Organizational Commitment in LowPerforming, New York City Public High Schools, Abstract, Dissertation Abstract International, 2013.
8.ชำนาญ สอนซื่อ,วิธีการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ในการ ป้องกันการกระทำผิดวินัยของข้าราชการครู,กรุงเทพมหานคร, 2551.
9.ทิศนา แขมมณี, “ศาสตร์การสอน” : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.