รูปแบบการบริหารเครือข่ายยุติธรรมชุมชนแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

ธนยศ ยันตะนะ
นวัสนันท์ วงศ์ประสิทธิ์
ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ
ปกรณ์ มณีปกรณ์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเครือข่ายยุติธรรมชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงยุติธรรม ผู้บริหารกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา หน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เจ้าหน้าที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา และสมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชน จำนวน 35 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบเจาะจงแล้วทำการการสัมภาษณ์เชิงลึกและการจัดประชุมสนทนากลุ่ม (focus group) จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย ได้แก่ เครือข่ายยุติธรรมชุมชน จำนวน 269 คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณ ผลของการศึกษาพบว่า การสร้างรูปแบบการบริหารเครือข่ายยุติธรรมชุมชนแบบมีส่วนร่วม ต้องเน้นการประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างบุคคลากรของเครือข่ายยุติธรรมชุมชน อาสาสมัครและคณะกรรมการชุมชน ศูนย์ยุติธรรมชุมชน ศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท ศูนย์ดำรงธรรม ให้สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการเครือข่ายยุติธรรมชุมชน และอาสาสมัคร ตลอดจนบุคคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้สามารถเข้าถึงความเป็นธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม, คู่มือแนวทางการกระจายอำนาจและการดำเนินงาน, 2558.
2.กองพัฒนายุติธรรมชุมชน สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม, คู่มือการปฏิบัติงานเครือข่ายยุติธรรมชุมชน, 2558.
3.สำนักงานยุติธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา กระทรวงยุติธรรม, คู่มือแบบรายงานผลการดำเนินงานของเครือข่ายยุติธรรม, 2558.
4.รัตนะ บัวสนธ์, การวิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา, กรุงเทพฯ : คำสมัย, 2551.
5.Stivers, & Camillam, Active Citizenship and Public Administration. In G.L.Wamsley, R.N. Bacher, C.T. Goodspell, P.S. Kronenberg, J.A. Rohr, C.M. Stivers, O.F. White, & J. F. Wolf (Eds.), Refunding public administration. CA: Sage Publication, 1990.
6.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, ยุติธรรมชุมชน: บทบาทการอำนวยความยุติธรรม โดยชุมชนเพื่อชุมชน, กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2550.
7.จักรกริญน์ ทอดสูงเนิน, “ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน กรณีศึกษา ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร,” วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 หน้า 98-113, 2557.
8.สำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานอัยการสูงสุด, บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU ว่าด้วยการอำนวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม, กรุงเทพ: กระทรวงยุติธรรม, 2557.