การศึกษาสภาพและปัญหาการวัดและประเมินผล ทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2

Main Article Content

จิราภรณ์ มีสง่า
อิศรา รุ่งทวีชัย

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการวัดและประเมินผลทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2 และ 2) เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการวัดและประเมินผลทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2 ที่แตกต่างกัน ด้านวุฒิการศึกษา และประสบการณ์การสอน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2  จำนวน 361 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามสภาพและปัญหาการวัดและประเมินผลทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติพื้นฐาน และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการวัดและประเมินผลทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติปานกลาง 2) ปัญหาการวัดและประเมินผลทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครูสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ครูที่มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การสอนแตกต่างกันมีสภาพและปัญหาการวัดและประเมินผลทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.ไสว ฟักขาว. (20 มิถุนายน2560), ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก http://web.chandra. ac.th/blog/wp.../ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21-พับ.pdf.
2.Partnership for 21st Century Skills. (11 มกราคม 2561). P21 Framework Definitions. สืบค้นจากhttp://www.p21.org/storage/documents/P21_Framework_Definitions.pdf.
3.ส. วาสนา ประวาลพฤกษ์, “การประเมินผลการเรียนให้สอดคล้องกับสภาพจริงโดยใช้แฟ้มสะสมงาน,” สารพัฒนาหลักสูตร, ปีที่ 15, ฉบับที่ 126, 2539.
4.National Research Council. (11 มกราคม 2561). Assessing 21st century skills - Summary of a workshop. สืบค้นจาก http://www.nap.edu/ read/13215/chapter/1.
5.แขก บุญมาทัน, “การพัฒนาศักยภาพด้านการวัดและประเมินผลเพื่อยกระดับการเรียนรู้ของนักเรียนใน การปฏิรูปการศึกษาครูโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์,” เพชรบูรณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 2556.
6.วรรณา ตันเทียว, “การศึกษาสภาพและปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนของอาจารย์ผู้สอนประเภทวิชาศิลปกรรมในวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพมหานคร,” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543.
7.วิลัยวรรณ์ ยุพากิ่ง, “ความรู้และปัญหาการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของครูระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนนำร่อง ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร,” กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2554.
8.วิสิษฐ์ และอิ่ม, “การศึกษาการดำเนินการการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา,” สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2543.
9.แก้วตา ฉัตรนุสรณ์, “การเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2,” กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2547.