การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับการดำเนินงาน การประกันคุณภาพภายในของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

Main Article Content

สุคณางค์ อารยพัฒน์มงคล
พรเทพ รู้แผน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจในการทำงานของครู 2) การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของครู และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 324 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .97 โดยแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงาน มีค่าความเชื่อมั่น .93 และแบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน มีค่าความเชื่อมั่น .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการทำงานของครู ในมิติด้านปัจจัยจูงใจที่มีอันดับสูงสุด คือ ความสำเร็จในการทำงาน รองลงมา คือ ลักษณะของงาน และอันดับต่ำสุด คือ การได้รับการยอมรับนับถือและความเจริญก้าวหน้า ส่วนมิติด้านปัจจัยค้ำจุนที่มีอันดับสูงสุด คือ การปกครองบังคับบัญชาของผู้บริหาร รองลงมา คือ เงินเดือน และอันดับต่ำสุด คือ สภาพการทำงานในโรงเรียน 2) การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของครู ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีการดำเนินงานอันดับสูงสุด คือ การเตรียมการ รองลงมาคือ การดำเนินการ และอันดับต่ำสุด คือ การประเมินผล 3) แรงจูงใจในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในระดับปานกลางทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของครู เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ความรับผิดชอบของครู ลักษณะของงาน สภาพการทำงานในโรงเรียน การได้รับการยอมรับนับถือ นโยบายและการบริหารงาน ความสำเร็จในการทำงาน ความเจริญก้าวหน้า ความสัมพันธ์กับผู้อื่น เงินเดือน และการปกครองบังคับบัญชาของผู้บริหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.กระทรวงศึกษาธิการ, แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ.2555-2559, สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

2.วีระยุทธ ชาตะกาญจน์, เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.

3.กระทรวงศึกษาธิการ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2542.

4.ณัฐพล ชุมวรฐายี, บันไดสู่การประกันคุณภาพการศึกษา, บุ๊ค พอยท์, 2545.

5.ธร สุนทรายุทธ, ทฤษฎีองค์กรและพฤติกรรม : หลักการ ทฤษฎี การวิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา, เนติกุลการพิมพ์, 2556.

6.สุรพล เพชรไกร, เทคนิคการจูงใจ, เทียนวัฒนาพริ้นท์ติ้ง, 2554.

7.วรพจน์ บุษราคัมวดี, การพัฒนาองค์การ, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2556.

8.วิเชียร วิทยอุดม, พฤติกรรมองค์การ, บ. ธนธัชการพิมพ์ จำกัด, 2554.

9.รุ่ง แก้วแดง, ประกันคุณภาพการศึกษา ทุกคนทำได้ ไม่ยาก, วัฒนาพานิช, 2545.

10.ธีระ รุณเจริญ, ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา(ฉบับปรังปรุง เพื่อปฏิรูปรอบสอง และประเมินภายนอกรอบ 3, นวสาส์นการพิมพ์, 2554.

11.กระทรวงศึกษาธิการ, แนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 เล่มที่ 1,โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2554.

12.Yamane.T, Statistic : An introductory analysis, Harper and Row ,1973.

13.รังสิมันต์ เชือนรัมย์, “ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4,” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 2553.

14.บุญเตือน กามินี, “ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานครูเทศบาลในจังหวัดชลบุรี,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราช-ภัฏราชนครินทร์, 2554.

15.ดลฤดี เกตุรุ่ง, “ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันองค์การของครูในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดสงขลา,” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2556.

16.สุชาย จินะเสนา, “การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 2548.

17.กฤษฎา การีชุม, “ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของ โรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1,” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554.

18.เนตรรุ้ง อยู่เจริญ, “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา
ของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร,” ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2553.