คุณภาพชีวิตของวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศในจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

นันทยา คงประพันธ์
ฐิติธนา ไตรสิทธิ์
พรทิพย์ ช่วยเพล

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศในจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นวัยรุ่นอายุระหว่าง 13 - 19 ปี  จำนวนทั้งสิ้น 250  ราย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ดำเนินการเก็บข้อมูลช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงกันยายน พ.ศ. 2560และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า  ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายร้อยละ 64.00 และเพศหญิง ร้อยละ 36.00  มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 15.50 ปี ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และสถานภาพสมรสของบิดามารดาของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่บิดามารดาไม่ได้อยู่ด้วยกัน (เช่น ทำงานคนละจังหวัด) ร้อยละ 36.80 สำหรับคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศในจังหวัดสุพรรณบุรีภาพรวมมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 ชี้ให้เห็นว่าคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศในจังหวัดสุพรรณบุรี มีระดับคุณภาพชีวิตที่ดี หากพิจารณาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตเป็นรายด้านทั้ง 4 ด้าน ซึ่งได้แก่ ด้านสุขภาพกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม จะพบว่า ทุกด้านมีคะแนนค่อนข้างสูง ซึ่งจะถือว่าคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นแต่ละด้านค่อนข้างดี โดยเฉพาะด้านสุขภาพกายมีคะแนนค่าเฉลี่ยสูงสุด (ค่าเฉลี่ย = 4.27) รองลงมาคือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตใจ และด้านสัมพันธภาพทางสังคม (มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 4.18 และ 4.12 ตามลำดับ) ผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นที่มีความหลากหลายทางเพศในจังหวัดสุพรรณบุรี มีระดับคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ปัจจุบันสังคมไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเพศสภาพของวัยรุ่นส่งผลให้วัยรุ่นมีความหลากหลายทางเพศต่างจากอดีต ดังนั้น ควรมีการศึกษาต่อไปเกี่ยวกับประเด็นคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นที่มีความหลายหลายทางเพศ เพื่อให้ทราบปัจจัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิมลพรรณ อิศรภักดี,“ ต่างวัยต่างทัศนะต่อความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย,” ความหลากหลายทางประชากรและสังคมในประเทศไทย ณ ปี 2558, หน้า45-63.

พรรุ่ง วงศ์จรัสกุล,“ การศึกษาปัญหาของนักศึกษาชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ,” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาจิตวิทยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2533.

อวาทิพย์ แว, “ปัจจัยด้านครอบครัวและสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียน ระดับอาชีวศึกษาในเขตเทศบาลนครยะลา,” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสร้างเสริมสุขภาพ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,2550

ธัญจิรา ดวงแก้ว,“ ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศของนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สังกัดคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดราชบุรี,” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา ,มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.

จิรัฐติภัทร์ บุญเพิ่ม,“ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเบี่ยงเบนทางเพศของวัยรุ่นชายที่มีพฤติกรรมการแสดงออกคล้ายหญิงในโรงเรียนมัฐยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดกาฬสินธุ์,” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2548.

สรัญญา เอกธรรมสุทธิ์,“ การวิเคราะห์บทบาทหญิงชายในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยในช่วงชั้นที่ 1 และ2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ.2544,” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสตรีศึกษา วิทยาลัยสหวิทยาการ, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ,2549.

ศรีเรือน แก้วกังวาล,จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2553.

Santrock, John W, Adolescence, Mc Grow Hill : Boston Burr Ridge, IL Dubuque, St.Louis, 2001.

Erikson, Identity, Youth and Crisis, New York : W.W. Norton Company,1968.

วารุณี ฟองแก้ว และคณะ, “ การศึกษาอัตลักษณ์ทางเพศของเด็กวัยรุ่น,” วารสารสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ , ปีที่39 , ฉบับที่ 1 , 2550, หน้า 47-77.

สุกมล วิภาวีกุล, (1 พฤษภาคม 2560) รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับกลุ่มวัยรุ่นไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร, สืบค้นจาก http://www.oknation.net.

Fongkaew , W., “Gender Socialization and Female Sexuality in Northern Thailand,” In Manderson and Liamputtong, P.(Eds.). Coming of Age in South and Southeast Asia : Youth Courtship and Sexuality, Richmond Surrey : Curzon, pp. 147-164.

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์, สถิติพื้นฐาน, ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2539.

สุนุตตรา ตะบูนพงศ์, วันดี สุทธรังษี และพัชรียา ไชยลังกา,“การประเมนิคุณสมบัติแบบวัดคุณภาพชีวิตฉบับย่อขององค์การอนามัยโลก ในกลุ่มผู้สูงอายุไทย,” วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย 2 (เมษายน–มิถุนายน), 2544, หน้า 6-15.

รจนา คงคาลับ, “ ปัจจัยส่วนบุคคลและสัมพันธภาพในครอบครัวกับคุณภาพชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1 จังหวัดชลบุรี,” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.