แนวทางการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพสู่มาตรฐานด้านการบริหารจัดการของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแนวทางการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพสู่มาตรฐานด้านการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 2) ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของแนวทางการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพสู่มาตรฐานด้านการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอ่างทอง วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สร้างแนวทางการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพสู่มาตรฐานด้านการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง และขั้นที่ 2 ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของแนวทางการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพสู่มาตรฐานด้านการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดอ่างทอง จำนวน 42 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลแห่งละ 4 คน คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการกองการศึกษา/นักวิชาการศึกษา และ ครู รวมทั้งสิ้น 168 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพสู่มาตรฐานด้านการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประกอบด้วย 3 ด้าน 15 องค์ประกอบ มีจำนวนแนวทางปฏิบัติทั้งสิ้น 95 แนวทาง ดังนี้ 1.1 ด้านการบริหารงาน มี 5 องค์ประกอบ 35 แนวทางปฏิบัติ เช่น สำรวจความต้องการของชุมชนในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1.2 ด้านการบริหารงบประมาณ มี 5 องค์ประกอบ 31 แนวทางปฏิบัติ เช่น มีการกำหนดรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ และจัดทำแผนการจัดหางบประมาณ และ 1.3 ด้านการบริหารงานบุคคล มี 5 องค์ประกอบ 29 แนวทางปฏิบัติ เช่น มีการปฐมนิเทศบุคลากร รวมทั้งการอบรมและศึกษาดูงาน เป็นต้น 2) แนวทางการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพสู่มาตรฐานด้านการบริหารจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง 3 ด้าน 15 องค์ประกอบ และ 95 แนวทางปฏิบัติ มีค่าความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.92) และมีค่า ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ =4.61) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 4.00
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2.จรรยา ชินสี, “แนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่,” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552.
3.โสรดา จิตรฉาย, “การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา, 2555.
4.เสวย หลายศรี, “สัมภาษณ์ 10 มิถุนายน,” นายกองค์การบริหารส่วนตำบล. องค์การบริหาร ส่วนตำบลคำหยาด, 2556.
5.อัมพร คงแป้น, “สัมภาษณ์ 10 มิถุนายน,”ครู. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์, 2556.
6.มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ:คู่มือการดำเนินงาน ตามมาตรฐาน, สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและ พิทักษ์เด็กเยาวชนผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ, 2555.
7.จันทร์เพ็ญ แดงใหญ่, “การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2555.
8.บุญชม ศรีสะอาด, การวิจัยเบื้องต้น,พิมพ์ครั้งที่ 8 สุวีริยาสาส์น, 2553.
9.โฉมฉาย กาศโอสถ, “รูปแบบการบริหารกิจการนักเรียนแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาระดัประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,” วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขา วิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2554.
10.ภัคจิรา อาลัยญาติ, “การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา,” วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2556.