แนวทางการพัฒนานักศึกษาตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลการทดสอบสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนานักศึกษาตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 อาจารย์ผู้สอนวิชา 400-13-01 Integrated Information Technology กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารหรืออาจารย์ประจำคณะ กลุ่มที่ 3 ผู้บริหารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และ กลุ่มที่ 4 ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอก การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาผลการสอบสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษา จากข้อมูลปฐมภูมิของนักศึกษา ปีการศึกษา 2559 ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนานักศึกษาตามกรอบมาตรฐานสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ พบว่า 1. พัฒนาเนื้อหารายวิชา จัดทำใบงานให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาตามหน่วยเรียนและการสอบสมรรถนะ 2. พัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาด้วยกิจกรรมในชั้นเรียน โดยส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผ่านการเรียนรู้ระบบ e-learning 3. สิ่งสนับสนุนทางการศึกษา พัฒนาระบบเครือข่ายให้ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัยฯ รวมถึงระบบเครือข่ายภายใน (Intranet) เพื่อให้นักศึกษาสามารถค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. พัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี 4.0 ภายใต้ความร่วมมือของทุกหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้อง จัดอบรมหลักสูตรการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านต่าง ๆ
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2.INDUSTRY 4.0 (The Fourth Industrial Revolution), สำนักงานที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรม ประจำญี่ปุ่น สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงอุตสาหกรรม, 2558.
3.คณะทำงานสนับสนุนงานด้านวิชาการของเลขาธิการ กสทช. (10 สิงหาคม 2561). เทคโนโลยี Internet of Things และนโยบาย Thailand 4.0. บทความพิเศษ ไตรสมาสที่ 3 2560. สืบค้นจาก https://bit.ly/2QUQGx3
4.ยาใจ พงษ์บริบูรณ์, “การศึกษาแบบกรณีศึกษา,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 33, หน้า 42-50, 2553.
5.อมาวสี อัมพันศิริรัตน์, “มโนทัศน์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ,” วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้, ปีที่ 1, ฉบับที่ 2, หน้า 68-80, 2557.
6.ฐิติพงษ์ รักษาริกรณ์. (5 สิงหาคม 2561).แนวทางการประยุกต์ใช้ Internet of Things (IoT) กับ Smart Agriculture 4.0. สืบค้น จาก http:// www.dpu.ac.th/ bigdata/iot-smart agriculture. Html
7.พิษณุ วรดิษฐ์ และ คณะ, “การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษา สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ,” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 8, ฉบับที่ 3, หน้า 676-690, 2558.
8.ปิยะนุช ชูโต และ คณะ, “ผลของการจัดการเรียนแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาชั้นปีที 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,” วารสารการพยาบาลและการศึกษา, ปีที่ 7, ฉบับที่ 3, หน้า 156-167, 2557.
9.ณัฏฐา ผิวมา และ คณะ, “แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต,” วารสารปัญญาภิวัฒน์, ปีที่ 8, ฉบับพิเศษ, หน้า 234-247, 2559.
10. ณรงค์ ล่ำดี, “การศึกษาทักษะการใช้งานโปรแกรมค้นหาของนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์,” วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, ปีที่ 8 ฉบับที่ 2, หน้า 38–48, 2556.
11. เกวลิน จริยารัตนกูล และ คณะ, “การใช้สารสนเทศของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์,” วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, ปีที่ 16, ฉบับที่ 1, หน้า 101-114, 2557.
12. นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์, “การพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียน ในระดับอุดมศึกษา,” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปีที่ 25 ฉบับที่ 3, หน้า 19-34, 2557.
13.จักรกฤษณ์ หมั่นวิชา, “เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะ,” วารสารหาดใหญ่วิชาการ ปีที่ 14, ฉบับที่ 2, หน้า 201-210, 2558.
14.นันทวัน วงศ์ขจรกิตติ, “นโยบายการให้บริการจังหวัดอัจฉริยะของประเทศไทย,” วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมาชูภถัมภ์, ปีที่ 11, ฉบับที่ 3, หน้า 365-377, 2559.