นวัตกรรมการจัดการของมหาวิทยาลัยเอกชนด้านธุรกิจการบิน ยุคประชาคมอาเซียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการสะสมความรู้ของสถานศึกษาเพื่อผลสัมฤทธิ์ในการผลิตบัณฑิต 2. ศึกษาแนวทางการจัดการในสถานศึกษาด้านธุรกิจการบินของมหาวิทยาลัยเอกชนที่ควรนำมาพัฒนาหรือปรับปรุง 3. ศึกษาแนวทางนวัตกรรมที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ และพัฒนาการจัดการให้มีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยเอกชนด้านธุรกิจการบินยุคประชาคมอาเซียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่าง คือ มหาวิทยาลัยเอกชน 2 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยรังสิตและมหาวิทยาลัยศรีปทุม ผลการวิจัยพบว่า 1. การสะสมความรู้ของสถานศึกษา เมื่อนำทฤษฎีระบบ มาร่วมวิเคราะห์ พบว่า 1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย เนื้อหาสาระรายวิชา อาจารย์ผู้สอน เครื่องมือและวิธีการสอน การประเมินผล 2) กระบวนการ ประกอบด้วย การเรียนการสอนผสมผสานระหว่างทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และการเรียนแบบสหวิทยาการ 3) ผลผลิต ประกอบด้วย ระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ หลักสูตรที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล บัณฑิตสำเร็จการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ 4) ข้อมูลย้อนกลับ ประกอบด้วย การสะท้อนกลับของหน่วยงานทางธุรกิจการบินเป็นสำคัญ 2. แนวทางการจัดการในสถานศึกษาด้านธุรกิจการบิน และแนวทางการจัดการที่ควรนำมาปรับปรุง พบว่า ทฤษฎีทางการจัดการที่ควรนำมาใช้ ประกอบด้วย 1) แนวคิด POLC คือ องค์ประกอบของการบริหารจัดการ ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์กร การนำ การควบคุม 2) แนวคิด PDCA คือ วงจรการบริหารงาน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ การดำเนินการให้เหมาะสม และ 3) หลักธรรมาภิบาล 3. เมื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่างการจัดการแบบเดิม และแบบใหม่ เพื่อให้ได้นวัตกรรมการจัดการ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ และมีความเหมาะสม มีรูปแบบ ที่ประกอบด้วย 1) การเกิดขึ้นของความต้องการในการเปลี่ยนแปลงสภาพปัจจุบัน หรือ Emerge 2) การปรับปรุงพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น หรือ Change 3) กระบวนการดำเนินการ แนวทางในการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ หรือ Process 4) การยกระดับกระบวนทัศน์ หรือ Paradigm Shift เพื่อความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาด้านธุรกิจการบินในยุคประชาคมอาเซียน
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กระทรวงคมนาคม, แผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2558-2561 (ฉบับ ปรับปรุง), กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงคมนาคม, 2557.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์, ชุดฝึกอบรมการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน ผู้เป็นสำคัญ, พิมพ์ครั้งที่ 5, มปท., 2552.
Ranking WEB of Universities. (2018). ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย. สืบค้นจาก http://webometrics.info/en/Asia/ Thailand.
Von Bertalanffy, L., An outline of general system theory, British Journal for the Philosophy of Science, 1, 134–165, 1950.
Luhmann, N., Theory of Society, V.1. Cultural Memory in the Present, (Trans. R. Barrett.) Palo Alto: Stanford University Press, 2012.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579, กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560.
McKinsey & Company. (March 2008). Enduring Ideas: The 7-S Framework. Retrieved from http://www.mckinsey.com /insights/strategy/enduring_ideas_the_7-s_framework
Aguilar, Francis J. (Francis Joseph). Scanning the business environment.New York, Macmillan, 1967.