ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอในเขตภาคตะวันออก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอในเขตภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) วิเคราะห์และตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยันของการพัฒนาชุมชนของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอในเขตภาคตะวันออก 2)ศึกษาระดับการพัฒนาชุมชนของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอในเขตภาคตะวันออก 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอในเขตภาคตะวันออกโดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือพัฒนาการและพัฒนากรของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอในเขตภาคตะวันออก จำนวนทั้งสิ้น 269 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการใช้สูตรกลุ่มตัวอย่าง 20 เท่าต่อ 1 ตัวแปร ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันการพัฒนาชุมชนของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอในเขตภาคตะวันออกที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อระดับการพัฒนาชุมชนของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอในเขตภาคตะวันออกในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากที่สุด 3) ปัจจัยผู้นำในชุมชน, ทุนทางสังคมของชุมชน, พลังชุมชน, ความรู้/ความเข้าใจของพัฒนาการและพัฒนากร, จิตสำนึกของพัฒนาการและพัฒนากรส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอในเขตภาคตะวันออก แต่การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนและทักษะ/ความสามารถของพัฒนาการและพัฒนากรไม่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอในเขตภาคตะวันออก
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
[2] จินตนา สุจจานันท์, การศึกษาและการพัฒนาชุมชน (Education and Community Development), กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2549
[3] รายงานประจำปี, กรมการพัฒนาชุมชน, 2562.
[4] Hair, J. F., Black, W.C., Babin,, B. J., Anderson, R. E, Multivariate data analysis: A
Global Perspective (7th ed). New Jersey: Pearson Education Inc, 2010.
[5] สุพัตรา จุณณะปิยะ, คู่มือการวิจัยทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่2
นนทบุรี:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, 2551.
[6] พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกตและนิภานภาเศรษฐ์ “การดำเนินงานพัฒนาชุมชนของชุมชนบ้านน้ำใส ตำบลทุ่งเบญจาอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี” วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม., ปีที่ 12,ฉบับที่ 2, หน้า 182-197, 2559.
[7] พัฒนา ดูศรีพิทักษ์, “ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเมือง: ศึกษากรณีชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร,” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา (เน้นสังคมศาสตร์), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2540.
[8] หาญศึก ทรงสวัสดิ์, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์,” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตรการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 2550.
[9] อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์, และดิรก สาระวดี “พัฒนาการชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง”วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์., ปีที่ 24, ฉบับที่2, 2550.
[10] พงษ์ศักดิ์ มณีเดช, “การวิเคราะห์ความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนของ นางทองดี โพธิยอง จากมุมมองของพุทธศาสนา,” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550.
[11] พิทักษ์ กาวีวน, “การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงของชุมชนเกษตรกรรมในชุมชนเขตพื้นที่สูง,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.
[12] สมหมาย ทองขาว, “ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบ้านโงกน้ำ ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง,” การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.
[13] เอกพันธุ์ ภัทรสุพงศ์, “การพัฒนาขีดความสามารถในการพึ่งพอตนเองของชุมชน ในอำเภอ
หนองเรือ จังหวัดขอนแก่น,” วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550.