การสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการสะเต็มศึกษา ร่วมกับการเรียนแบบปัญหาเป็นฐานด้วยโมเดล PIP-MASE เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทางวิศวกรรมศึกษา

Main Article Content

ธนิต บุญใส
สิริลักษณ์ หาญวัฒนานุกุล

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)สังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการสะเต็มศึกษาร่วมกับการเรียนแบบปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทางวิศวกรรมศึกษา ด้วยโมเดล PIP-MASE และ2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 8 คน มีความเชี่ยวชาญทางด้านการสอนวิชาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าศึกษา ด้านวิชาการและงานวิจัย และทางด้านการศึกษา ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความเหมาะสมของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจยัพบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นเตรียมความพร้อม (2) ขั้นให้ความรู้เบื้องต้น (3) ขั้นกำหนดปัญหา (4) ขั้นนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา (5) ขั้นการแก้ปัญหา       (6) ขั้นสรุป/นำเสนอคำตอบของปัญหา (7) ขั้นการแสดงความคิดเห็น/ประเมินผล และ 2) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน ในภาพรวมพบว่าด้านการออกแบบรูปแบบบูรณาการเรียนรู้ มีความเหมาะสมมาก( gif.latex?\bar{x}=4.35,SD=0.41) และด้านองค์ประกอบหลักของรูปแบบ มีความเหมาะสมมาก( gif.latex?\bar{x}=4.34,SD=0.41)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ, สถาบันสงเสริมการสอน วิทยาศาสตรและเทคโนโลยี (สสวท.). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พิมพครั้งที่ 1, 2557.

พรจิต ประทุมสุวรรณ, “การพัฒนาชุดการสอน การควบคุมไฮดรอลิกไฟฟาแบบฟซซี: วิธีการเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐาน,” วิทยานิพนธปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าศึกษา, มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ, 2553.

พินิจ เนื่องภิรมย์ และคณะ, “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ SMILE โดยใช้การเรียนรู้ แบบสะเต็มศึกษาเป็นฐานสำหรับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์,” การประชุม วิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม ระดับชาติ ครั้งที่ 9, กรุงเทพฯ, พฤศจิกายน 2559,หน้า 75-76.

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม, “การจัดการเรียนรู้แบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning): รายวิชาการออกแบบและพัฒนาหลักสูตร สำหรับ นักศึกษาวิชาชีพครู,” วารสารบัณฑิตศึกษา มหา วิทยาลยัราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรม ราชูปถัมภ์., ปีที่ 11, ฉบับที่ 2, หน้า 179-192, 2560.

ชูศรี วงศ์รัตนะ, เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย, กรุงเทพมหานคร, โรงพิมพ์เจริญผล, 2544.

กัญจน์ณิชา ชาวเรือ. (4 มีนาคม 2563). การพัฒนาโมเดลการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริม ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. สืบค้นจาก http://mis.nrru.ac.th/gradjournal/uploadify/uploads/Test/776%2031-10-18%2010-42- 57.pdf.