ความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาไทย การพัฒนาหลักสูตรเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ขวัญฤทัย สูตรเลข
ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดงลาน จังหวัดตาก จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย หลักสูตรที่สร้างขึ้น แบบทดสอบวัดความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ


                ผลการวิจัยพบว่า ได้หลักสูตรเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีหน่วยการเรียนรู้ทั้งหมด 4 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 ลัดเลาะรอบย่าน หน่วยที่ 2 แม่ไก่ออกไข่ หน่วยที่ 3 เล่าขานตำนานดงลาน และหน่วยที่ 4 โฆษณาพาสนุก หลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก และผลการใช้หลักสูตรคือ นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยคะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 12.11 (S.D. = 6.19) และคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 25.67 (S.D. = 2.65)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ, คุรุสภาลาดพร้าว, 2554.

รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาประจำปีการศึกษา 2561, โรงเรียนบ้านดงลาน, ตาก, 2561.

รายงานการวิจัยรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบการเรียนรู้ “ฉลาดรู้”, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพฯ, 2550.

วิชัย วงษ์ใหญ่, การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ,บริษัท อาร์ แอนด์ ปริ้นท์ จำกัด, 2551.

ชาลินี เกสรพิกุล, “การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูภาษาไทยด้านการสอนคิด,” ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555.

สิริวรรณ คุ้มบ้าน, “การพัฒนาหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพิ่มเติม ท 40207 วรรณกรรมพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาช่วงชั้นที่ 4 จังหวัดราชบุรี,” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและวิธีสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550.

สิตรา ศรีเหรา, “การพัฒนาความสามารถทางการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวาง,” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2560.

Wildova, R, “Initial Reading Literacy Development in Current Primary School Practice,” Prague, Charles University, 2014.

กนิษฐา มหาวงศ์ทอง, “พฤติกรรมการอ่านและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการอ่านของพระนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน,” เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.

โครงการพัฒนาสมรรถนะการอ่านของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ด้วยเครือข่ายหนุนเสริมการเรียนรู้จังหวัดลำปาง, ดวงจันทร์ เดี่ยววิไล และคณะ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2555.