ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ของเจ้าหน้าที่พัสดุในมหาวิทยาลัย -

Main Article Content

ภัทรวรินทร์ แก้วอำภา
หทัยรัตน์ เกตุมณีชัยรัตน์

บทคัดย่อ

               งานวิจัยฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีระบบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ของเจ้าหน้าที่พัสดุในมหาวิทยาลัยภาครัฐ และเพื่อเปรียบเทียบการยอมรับเทคโนโลยีของเจ้าหน้าที่พัสดุของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือกับเจ้าหน้าที่พัสดุของมหาวิทยาลัยภาครัฐ


               กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ เจ้าหน้าที่พัสดุของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และเจ้าหน้าที่พัสดุของมหาวิทยาลัยภาครัฐ โดยใช้วิธีการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีระบบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ของเจ้าหน้าที่พัสดุในมหาวิทยาลัยภาครัฐ เป็นไปตามกรอบแนวคิดในการวิจัย ซึ่งประกอบไปด้วย 6 ปัจจัย โดยเจ้าหน้าที่พัสดุของมหาวิทยาลัยมีทัศนคติและพฤติกรรมต่อการยอมรับเทคโนโลยีระบบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ด้านการรับรู้ว่าง่ายต่อการใช้งาน (Perceived Ease of Use) การรับรู้ว่ามีประโยชน์ (Perceived Usefulness) ทัศนคติต่อพฤติกรรมการยอมรับเทคโนโลยี (Attitude toward Using) บรรทัดฐานทางสังคม (Subjective Norm) ความตั้งใจในการใช้เทคโนโลยี (Intention of using Information Technology) อยู่ในระดับมาก การรับรู้ถึงการควบคุมเทคโนโลยี (Perceived Control Technology) อยู่ในระดับปานกลาง 2) และการยอมรับเทคโนโลยีของเจ้าหน้าที่พัสดุมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือกับเจ้าหน้าที่พัสดุมหาวิทยาลัยภาครัฐมีผลไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ, ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement: e-GP), สำหรับหน่วยงานภาครัฐ, กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง, 2558.

กลุ่มงานมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ, คู่มือวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding: e-bidding), สำหรับหน่วยงานภาครัฐ, กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง, 2558.

คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ, การขยายระยะเวลากำหนดวงเงินวิธีการจัดหาพัสดุโดย ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และยกเว้นการปฏิบัติ ตามแนวทางปฏิบัติในการ จัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market: e-market) และด้วยวิธีประกวดราคา อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding: e-bidding), กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง, 2559.

สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัตร, “ทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี,” วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ ลาดกระบัง, 2555.

ธีระ กุลสวัสดิ์, “การยอมรับอีเลิร์นนิ่งของนิสิตระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยบูรพา,” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน, 2557.

วันทนีย์ มงคลทรัพย์กุล อัญณิฐา ดิษฐานนท์ อรพรรณ คงมาลัย และจันทร์จิรา นพคุณธรรมชาติ, “ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ : กรณีศึกษาการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์,” วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., ปีที่ 39, ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม, หน้า 3-9, 2559.

กรณษา แสนละเอียด พีรภาว์ ทวีสุข และศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล, “การยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความตั้งใจในการใช้บริการสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานคร,” วารสารปัญญาภิวัฒน์, ปีที่ 9, ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม, 2560.

อัครเดช ปิ่นสุข, “การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ และ ส่วนประสมการตลาดในมุมมองของลูกค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ (E-satisfaction) ในการจองตั๋ว ภาพยนตร์ออนไลน์ผ่านระบบแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้บริการในจังหวัดกรุงเทพมหานคร,” การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2557.