ทบทวนวาทกรรมว่าด้วยมรดกโลกกับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน

Main Article Content

นรเศรษฐ์ เตชะ

บทคัดย่อ

มโนทัศน์ของมรดกโลกหมายถึงทุกสิ่งอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยรังสรรค์อย่างมีคุณค่า ซึ่งมีความสำคัญเป็นพิเศษที่แสดงถึงความสัมพันธ์ในระดับสากลโลก และแหล่งมรดกโลกต้องเป็นศูนย์รวมของคนทั้งโลกและไม่จำกัดขอบเขตในการเข้าถึงสถานที่เหล่านั้นประกอบไปด้วย มรดกโลกทางวัฒนธรรม  มรดกโลกทางธรรมชาติ และ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม บริบทของมรดกโลกในปัจจุบันจัดเป็นวาทกรรมและมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนกับความสัมพันธ์เชิงอำนาจและผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการควบคุมและจัดการสิ่งที่หลงเหลือในโลก ดังนั้นมรดกโลกจึงเป็นสัญญะของความเป็นเอกภาพและความยั่งยืน บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอถึงสถานการณ์ และความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์มรดกโลกที่คลาดเคลื่อนโดยใช้ทฤษฏีเชิงอำนาจ แนวคิดประโยชน์นิยมและทฤษฏีโครงสร้างหน้าที่นิยมใช้ในการประกอบการอธิบายปรากฎการณ์และนำเสนอมโนทัศน์มรดกโลกในมิติทางการศึกษาที่มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. ศุภลักษณ์ สนธิชัย, “100 World Heritage 100 มรดกโลก”, อทิตตา พริ้นติ้ง, 2554, หน้า 244

2. Heritage is our legacy from the past, what we live with today, and what we pass on to future generations.Our cultural and natural heritage are both irreplaceable sources of life and inspiration. In details, “About World Heritage” (2017, September 23) Available http://whc.unesco.org/en/about/.

3. อุดม เชยกีวงศ์, มรดกไทย - มรดกโลก, สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา, 2549, หน้า 13-14.

4. Category of site consist of “Cultural site” “Natural site” and “Mixed site” (2017, September 23) Available from https://whc. unesco.org/en/list/

5. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม, มรดกไทย มรดกโลก, ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด, 2550, หน้า 13.

6. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม, มรดกไทย มรดกโลก, ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด, 2550, หน้า 107.

7. สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 3พระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ, มรดกไทย-มรดกโลก, กราฟิค ฟอร์แมท (ไทยแลนด์) จำกัด, 2543, หน้า 64.

8. ศุภลักษณ์ สนธิชัย, “100 World Heritage 100 มรดกโลก”, อทิตตา พริ้นติ้ง, 2554, หน้า 244-245
9. Protection and preservation of cultural and natural heritage around the world considered to be of outstanding value to humanity, “About World Heritage” (2017, September 28) Available from http://whc. unesco. org/en/about/.

10. สุนีย์ ทองจันทร์ และคณะ,“ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในการบริหารจัดการ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ : ศึกษากรณี เกาะเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,” รายงาน การวิจัย,สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2556, หน้า 99 - 100.

11. นิคม มูสิกะคามะ, แนวปฏิบัติในการสงวนรักษาโบราณสถานตามพระราชบัญญัติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535), รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2548, หน้า 25.

12. พินิจ พินธุสาส์น, ว่าด้วย...องค์การยูเนสโกและ ผลประโยชน์ในมรดกโลก, เคล็ดไทย จำกัด, 2553, หน้า 123.

13. Crisp Roger,(ed.),Mill J.S.Utilitarianism,Oxford University Press, 1998, Page 55.

14. สุภางค์ จันทวานิช, “ทฤษฏีสังคมวิทยา”,สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์, 2551, หน้า 58

15. B.B. Moreeng, “Reconceptualising the teaching of heritage in schools,” South African Journal of Higher Education is the property of Unisa Press ,Vol 28, No. 2, pp. 767 - 786, 2014

16. พัชรินทร์ สิรสุนทร, แนวคิด ทฤษฎี เทคนิค และการประยุกต์เพื่อการพัฒนาสังคม, สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556, หน้า 195.