การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น:กรณีศึกษา องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

อัครวินท์ ศาสนพิทักษ์

บทคัดย่อ

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และ (2) เพื่อศึกษาการจัดการเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้กับประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยอาศัยวิธีวิทยาแบบประสานวิธี โดยเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 395 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากพนักงานวิเคราะห์นโยบายและแผนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นอยู่ในระดับปานกลาง การได้รับข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับปานกลาง และการเป็นพลเมืองที่ดีอยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ปัจจัยมีผลต่อความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ที่ระดับนัยยะสัมพันธ์ทางสถิติที่ .01 วิธีการที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นคือ (1) การปรับเปลี่ยนวันเวลาการจัดประชุมประชาคมหมู่บ้านให้เป็นการประชุมนอกเวลาราชการ (2) สนับสนุนให้สิ่งที่ประชาชนเสนอเกิดผลที่เป็นรูปธรรม (3) ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลการประชุม (4) จัดบริการสาธารณะพร้อมกับการประชุม (5) ชี้แจงผลงานของท้องถิ่นก่อนการประชุม (6) จัดประชุมประชาคมแบบรวมหมู่ และ (7) การใช้แบบสอบถาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540, สนพ.นิติธรรม.

2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

4.พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542. (2 ก.พ. 2561) สืบค้นจากhttps://docs.google.com/file/d/0B0QqZeoMeRdmUTBmTGJ1NVVxczA/edit.

5. สถาบันพระปกเกล้า, ระเบียบการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 (11 มค. 61) สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index. php?title=ระเบียบการจัดทำแผนพัฒนาขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548.

6. ฝ่ายวิชาการสำนักพิมพ์เดอะบุคส์, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 และ 2 พ.ศ. 2554, 2554.

7. ลัดดาวรรณ นนปดิ และวัลลภ รัฐฉัตรานนท์, "การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัย-ศรี จังหวัดนครปฐม," วารสารบริหารปกครอง (Governance Journal)., ปีที่ 5, ฉบับที่ 2, หน้า 289 -305, 2559.

8. อัครวินท์ ศาสนพิทักษ์ และวิมลรัตน์ ยิ้มละมัย,“การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง,” เอกสารประกอบการประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, หน้า 135-145, 2561.

9. กรมส่งเสริมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (25 ธ.ค. 2560). สืบค้นจาก http://www.amphoe. com/ menu.php?mid=1&am=368&pv=31.

10. ธีรวุฒิ เอกะกุล, ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2549.

11. กัลยา วานิชย์บัญชา, การใช้ SPSS for Window ในการวิเคราะห์ข้อมูล, พิมพ์ครั้งที่7: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

12. วฤทธิ์ สารฤทธิคาม, “ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในองค์การบริหารส่วนตำบลดวนงัว จังหวัดมหาสารคาม,” วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2553.

13. กมล เข็มนาจิตร์, "ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์," วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี., ปีที่ 8, ฉบับที่17,หน้า 80-89, 2557.