การพัฒนาครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสำหรับประเทศไทย 4.0

Main Article Content

ขดดะรี บินเซ็น
บุญเลิศ ค่อนสอาด
กิตติวงค์ สาสวด

บทคัดย่อ

               การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะครูเอกชนสอนศาสนาอิสลามสำหรับประเทศไทย 4.0  2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของทักษะด้านข้อมูลสารสนเทศ ทักษะการเรียนรู้และการสร้างนวัตกรรม คุณลักษณะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่มีต่อคุณลักษณะครูเอกชนสอนศาสนาอิสลามสำหรับประเทศไทย 4.0 และ  3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสำหรับประเทศไทย  4.0  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาทั้งหมดในจังหวัดสงขลาจำแนกรายอำเภอ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 400 ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์สมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมลิสเรล  ผลการวิจัยพบว่า


               1)  ระดับปัจจัยด้านข้อมูลสารสนเทศ มีค่าอยู่ในระดับมาก ระดับปัจจัยด้านทักษะการเรียนรู้และการสร้างนวัตกรรม มีค่าอยู่ในระดับมาก  และด้านคุณลักษณะของคนในศตวรรษที่ 21 มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง  2)  ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะครูเอกชนสอนศาสนาอิสลามสำหรับประเทศไทย  4.0    มากที่สุด คือทักษะด้านข้อมูลสารสนเทศ  รองลงมาคือทักษะการเรียนรู้และการสร้างนวัตกรรม  และคุณลักษณะของคนในศตวรรษที่ 21 ตามลำดับ   3) แนวทางการพัฒนาครูเอกชนสอนศาสนาอิสลามสำหรับประเทศไทย  4.0   ควรพัฒนาด้านทักษะด้านข้อมูลสารสนเทศ  ด้านทักษะการเรียนรู้และการสร้างนวัตกรรม  และการมีคุณลักษณะของคนในศตวรรษที่ 21

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.ศูนย์ข้อมูลและคาดการณ์เทคโนโลยีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.). (2560). บทวิเคราะห์การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยประจำปี 2017 - 2018 โดย World Economic Forum: WEF. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561. จากเว็บไซต์http://sti.or.th/news-detail.php?news_type=2&news_id=250

2.S. Tam, & D.E. Gray. (2016). Organizational learning and the organizational life cycle: the
differential aspects of an integrated relationship in SMEs. European Journal of Training and Development, 40(1): 2-20.

3.Cochran-Smith & M. Lytle. S. L. (1993). Inside/Outside Teacher Research and Knowledge. New York, New York: Teachers College Press.

4.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ. 2560 – 2574. บริษัทพริกหวาน กราฟฟิค: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

5.พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุค Thailand 4.0. วารสารสาขา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. มหาวิทยาลัยศิลปากร. 11(2), 2363-2380.

6.สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์. (2560). การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28(1), 100-108.

7.พิณสุดา สิริธรังศรี. ( 2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. สำนักส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพของเยาวชน. มาตา การพิมพ์ จำกัด.

8.อมรวิชช์ นาครทรรพ และคณะ (2550). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ "ซากอเล๊าะ กีตอ เพื่อความเป็นโรงเรียนของเราทุกคน". สถาบันรามจิตติ: กรุงเทพฯ.

9.Anderson, J. C., & Gerbing, D. W. (1988). Structural Equation Modeling in Practice: A Review and Recommended Two-Step Approach. Psychological Bulletin, 103(3), 411-423.

10.Best & Kahn James V. (1993). Research in education. (7th ed.). Boston : Allyn and Bacon.