การศึกษาสภาพปัญหาการนิเทศด้วยกระบวนการชี้แนะ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา

Main Article Content

รัชดาภรณ์ ตัณฑิกุล

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการนิเทศด้วยกระบวนการชี้แนะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาโดย
การเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นศึกษานิเทศก์ประจำสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
พระนครศรีอยุธยา จำนวน 6 คน ข้าราชการครู จำนวน 20 คน และนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสังเกต แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


               ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการนิเทศด้วยกระบวนการชี้แนะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในระดับประถมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{x} = 3.02) โดยด้านวัฒนธรรมองค์กรมีปัญหามากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.24) รองลงมา ได้แก่ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการนิเทศ (gif.latex?\bar{x} = 3.88), ด้านงบประมาณ (gif.latex?\bar{x} = 3.75), ด้านบุคลากร (gif.latex?\bar{x} = 3.46), ด้านครูผู้รับการนิเทศ (gif.latex?\bar{x} = 3.26), ด้านอื่น ๆ (gif.latex?\bar{x} = 2.98) และด้านการจัดบรรยากาศในการนิเทศเป็นปัญหาน้อยที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 2.55) ตามลำดับ ซึ่งสภาพปัญหาการนิเทศในแต่ละด้านที่เป็นปัญหามากที่สุด ด้านวัฒนธรรมองค์กร คือ การที่ผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญและส่งเสริมการนิเทศ, ด้านวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือในการนิเทศ คือ คุณภาพของอุปกรณ์/เครื่องมือ, ด้านงบประมาณ คือ การจัดตั้งงบประมาณในการจัดทำและเผยแพร่สื่อนวัตกรรม, ด้านบุคลากร คือ จำนวนผู้นิเทศก์ภายในหน่วยงานลดลง, ด้านครูผู้รับการนิเทศ คือ ความพร้อมที่จะรับฟังและรับได้กับการถูกตำหนิ, ด้านอื่น ๆ คือ โรงเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบมีจำนวนมาก และด้านการจัดบรรยากาศในการนิเทศ คือ การจัดบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมในการนิเทศไม่เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.วิจารณ์ พานิช, วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์, พิมพ์ครั้งที่ 3 มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์, 2555.

2.สุมน อมรวิวัฒน์, “ครูไทยในศตวรรษที่ 21,” การประชุมอภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย, กรุงเทพฯ, 6-8 พฤษภาคม 2557, หน้า ม.ป.ป.

3.อัญชลี ธรรมะวิธีกุล.(7 มิถุนายน 2561). กระบวนการในการจัดการนิเทศการศึกษา. สืบค้นจากhttps://panchalee.wordpress. com/ 2009/ 03/30/process.

4.กระทรวงศึกษาธิการ, การประชุมปฏิบัติการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนบูรณาการในโรงเรียนขนาดเล็กตามจุดเน้น สพฐ., สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2553.

5.อนันต์ กันนาง. (4 มิถุนายน 2561). การนิเทศแบบ Coaching. สืบค้นจาก http://nainut.esdc.go.th/ home/kar-nithes-baeb-coaching.

6.สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, รายงานการวิจัย เรื่อง สภาพปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552.

7.เก็จกนก เอื้อวงศ์. (7 มิถุนายน 2561). การนิเทศในสถานศึกษา. สืบค้นจาก https://mystou.files. wordpress.com/2012/02/23503-8-t.pdf.