การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพทางบัญชีของพนักงานบัญชีสหกรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพทางบัญชีของพนักงานสหกรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ พนักงานสหกรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 800 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตามสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย เลขคณิต และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า หลังจากผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ พนักงานสหกรณ์มีสมรรถนะ ด้านความรู้ ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพทางการบัญชี (IES 2) (=4.05) สมรรถนะด้านทักษะทางวิชาชีพ (IES 3) (=4.11) และสมรรถนะด้านค่านิยม จรรณยาบรรณ และทัศนคติทางวิชาชีพ (IES 4) (=4.20) อยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยแต่ละด้านยังคงอยู่ในระดับการประเมินที่มีสมรรถนะสูงขึ้นทั้งหมดเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้ารับการอบรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2563). รายงานขนาดสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในประเทศไทย ปี63. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564, จาก https://www.cad.go.th/ewtadmin/ ewt/statistic/download/information63/size63.pdf
กรมส่งเสริมสหกรณ์ (2563). อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการสหกรณ์. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564, จาก file:///C:/Users/Kirana/Desktop/main_udomka_cpd.pdf
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พงศ์ศิรภพ ทองดีรวิสุรเกตุ. (2555). สมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชี: มุมมองของผู้บริหารงานสายบัญชี ในเขตการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
มารีนี กอรา และกุลวดี ลิ่มอุสันโน. (2560). ผลกระทบของความเป็นมืออาชีพของนักบัญชีและการบริหารความเสี่ยงที่มีผลต่อคุณภาพ รายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน 5 จังหวัดชายแดนใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 4(2) : 38-50.
รจนา ขุนแก้ว และมัทนชัย สุทธิพันธุ์ (2558). ความพร้อมของนักศึกษาการบัญชีในมหาวิทยาลัยในจังหวัดสงขลา สู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาการจัดการ. 32(1) : 37-63.
วิภาพร ทิมบำรุง. (2558). สมรรถนะทางวิชาชีพของนักบัญชีที่คาดหวังของผู้บริหารในสายงายบัญชีและการเงินในบริษัทมหาชน. สารานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. สาขาการบัญชี คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วราภรณ์ ชัชกุล. (2560). ผลกระทบมาตรฐานการปฏิบัติงาน จรรยาบรรณในวิชาชีพบัญชี และการพัฒนาศักยภาพทางการบัญชีต่อคุณภาพการปฏิบัติงาน ของสำนักงานบัญชีในเขต ภาคตะวันออก. สารานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี มหาวิทยาศรีปทุม.
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2563). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564, จาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/66980
สัมฤทธิ์ ศิริคะเณรัตน์ และคณะ. (2563). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียง เหนือ. 10(2) : 113-123.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่. (2563). รายงานผลการดำเนินงาน สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ 2562. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2564, จาhttps://web.cpd.go.th/chiangmai/