หมอเบ้เชี้ยว : ชาวเขาเผ่าม้งบ้านตูบค้อ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งนำเสนอประเพณีการกินข้าวใหม่ (หมอเบ้เชี้ยว) ชาวเขาเผ่าม้งบ้านตูบค้อ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเพณีการกินข้าวใหม่ ชาวเขาเผ่าม้งบ้านตูบค้อ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ที่เป็นทางการและการสัมภาษณ์ที่ไม่เป็นทางการจากผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น หรือปราชญ์ชาวบ้าน และวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการศึกษาเอกสารต่าง ๆ และได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Anglysis) นำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์จากผลการศึกษาพบว่า ชาวเขาเผ่าม้งบ้านตูบค้อ มีขั้นตอน การอนุรักษ์ประเพณีการกินข้าวใหม่ (หมอเบ้เชี้ยว) มีอยู่ 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นตอนการทำข้าวใหม่ 2) ขั้นตอนการกินข้าวใหม่ 3) แนวทางการอนุรักษ์ประเพณีการกินข้าวใหม่ ดังนั้นประเพณีการกินข้าวใหม่ เป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่ชาวเขาเผ่าม้งในหมู่บ้านทุกคนต้องอนุรักษ์สืบสานประเพณีนี้สืบไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
ไขศรี จิตสำราญ และคณะ. (2549). ศึกษาความเป็นมาและความเชื่อที่ปรากฏในลายปักบนผืนผ้าของชาวเขาเผ่าม้งบ้านเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จงยี่ แซ่สง. (22 ตุลาคม 2564). ปราชญ์ชาวบ้าน : สัมภาษณ์.
ชัวปุ้ก แซ่ท้อ. (20 ตุลาคม 2564). ปราชญ์ชาวบ้าน. [สัมภาษณ์].
ทิพวรรณ เอี่ยมจันทร์. (2549). ภูมิปัญญาการใช้ประยุกต์และอนุรักษ์พืชสมุนไพรของชาวม้งใน ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เบีย แซ่ท้อ. (18 ตุลาคม 2564). ปราชญ์ชาวบ้าน. [สัมภาษณ์].
เบียยง แซ่ท้อ. (22 ตุลาคม 2564). ปราชญ์ชาวบ้าน. [สัมภาษณ์].
ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2548). ม้งหลากหลายชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม.
ไพฑูรย์ ทองสม. (2556). แนวทางการอนุรักษ์สืบสานและเผยแพร่ภูมิปัญญาชุมชน. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาทักษิณศึกษา. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2564, จาก www2.tsu.ac.th/clw/main/files_sec2.pptx.
ยงยิ่ง แซ่ลี, (2564, 18 ตุลาคม 2564). ปราชญ์ชาวบ้าน . [สัมภาษณ์].
วิชชุพงศ์ วรศาสตร์กุล. (2561). พิธีกรรมการแต่งงานของชาวเขาเผ่าม้งบ้านห้วยทรายเหนืออำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ วิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 15. 1 กันยายน 2561. หน้า 77-90. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
วิชชุพงศ์ วรศาสตร์กุล. (2564). การศึกษาภาษาม้งบ้านตูบค้อ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.8(3) : หน้า 151-161.
สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย. (2548). (ร่าง) องค์ความรู้ท้องถิ่นม้ง : ม.ป.ท. : ม.ป.พ.
สุรินทร์ สุริยวงศ์. (2536). การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านทุ่งยาว อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
หล้า มหาวงศ์สกุล, (20 ตุลาคม 2564). ปราชญ์ชาวบ้าน. [สัมภาษณ์].
ไหม แซ่ท้อ, (22 ตุลาคม 2564). ปราชญ์ชาวบ้าน . [สัมภาษณ์].
องค์การบริหารส่วนตำบลกกสะทอน. (2562). ปีใหม่ม้งแห่งเดียวในภาคอีสาน บ้านตูบค้อ ตำบลกกสะทอนอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563. จาก https://tis.dasta.or.th/dastatravel/mong-newyear/.