การเพิ่มผลิตภาพและนวัตกรรมในการผลิต ของผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่ประกอบด้วยหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่มีความต่อเนื่องกันในกระบวนการผลิตและเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับการผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกมากมายโดยอาจจำแนกประเภทผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้เป็น 3 กลุ่ม ตามความเชื่อมโยงในการผลิต คือ อุตสาหกรรมขั้นต้น (Upstream) ซึ่งเป็น ขั้นการผลิตวัตถุดิบ อุตสาหกรรมขั้นกลาง (Midstream) ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมขั้นปลาย (Downstream) คือ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยจัดเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกและมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลกเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากแรงงานไทยมีผลิตภาพ (Productivity) สูงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าจ้าง ในประเทศไทยยังมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมนี้ที่หลากหลาย มีความพร้อมเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุน (Supporting Industry) บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเสนอความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในด้านการกำหนดกลยุทธ์ โดยเฉพาะประเด็นความพร้อมในการนำนวัตกรรมซึ่งถือว่าเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจสำคัญที่จำเป็นสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมยุคใหม่ให้มีความสามารถในการแข่งขัน ทั้งด้านเทคโนโลยีการผลิตและการดำเนินการขององค์กร ในโลกธุรกิจดั้งเดิมที่ถูกเปลี่ยนผ่านไปเช่นปัจจุบัน ทุกองค์กรต้องพัฒนาเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขันทั้งด้านการตลาด การสร้างและการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กร การผลิตและตัวสินค้าเพื่อความอยู่รอด การเติบโต และความมั่นคงของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ศักยภาพหรือความสามารถทางการแข่งขัน จะมาจากการดำเนินการที่มีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่ธุรกิจจำเป็นต้องมีคือ การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และการนำความคิดสร้างสรรค์มาสร้างความแตกต่างอันหลากหลายเพื่อเชื่อมโยงกับการเพิ่มผลิตภาพซึ่งจะสามารถลดต้นทุน และสร้างโอกาสในการแข่งขันได้เพิ่มขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.
เจน นำชัยศิริ. (2561). ยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมไทย สู่ยุค 4. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.). กระทรวงอุตสาหกรรม.
นภดล เหลืองภิรมย์. (2560). การจัดการนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิชชิ่ง.
ปภพพล เติมธีรกิจ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: กรณีศึกษา เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วิชาญ ทรายอ่อน. (2559). ประเทศไทย 4.0. สำนักงานเลขานุการสภาผู้แทนราษฎร.กรุงเทพฯ: รัฐสภา.
สถาบันไทย-เยอรมัน. (2560). คู่มือการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมสู่ความเป็นโรงงานอัจฉริยะ(Smart Factory). กรุงเทพฯ: สถาบันไทย-เยอรมัน.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2558). อุตสาหกรรม 4.0 (Industrial 4.0) แนวทางของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.).
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2561). รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.
อดิศักดิ์ แป๊ะพุฒ. (2556). การเพิ่มผลิตภาพในกระบวนการผลิตของโรงงานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
McKeown Max. (2008). The Truth About Innovation. London. UK: Prentice Hall. ISBN 0273719122.
Thomas Hughes. (1987). The Social Construction of Technological Systems: New Directions in the sociology and History of Technology. Cambridge: M.I.T.Press.