การประยุกต์ใช้ทฤษฎีจินตภาพของเมืองในการพัฒนาภูมิทัศน์เมือง

Main Article Content

ปริญญา ปฏิพันธกานต์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอแนวทางการพัฒนาภูมิทัศน์โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีจินตภาพของเมือง เป็นการนำเอาองค์ประกอบในการรับรู้ของเมืองจากผู้ที่เข้ามาพบเห็นพื้นที่ จะประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ สามารถสร้างการรับรู้ทางมโนทัศน์ให้กับเมืองจากผู้ที่สังเกตเห็น หากสภาพแวดล้อมของเมืองได้มีการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสม จะทำให้เกิดจินตภาพเมืองชัดเจน ส่งผลให้เมืองนั้นๆ มีความน่าประทับใจต่อผู้พบเห็นในที่สุด ผลการศึกษาพบว่าทฤษฎีจินตภาพของเมืองสามารถวิเคราะห์เชิงพื้นที่เพื่อสร้างภูมิทัศน์ให้แก่ชุมชนพื้นที่ศึกษาได้ ซึ่งผลการศึกษาปรากฎว่า ปัญหาเรื่องของเส้นทาง (Paths) นั้นควรมีการพัฒนาเส้นทางถนนเพิ่มมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างชุมชนกับวัด และการปรับปรุงสภาพื้นผิวถนนให้สามารถสัญจรได้อย่างสะดวก ต่อมาคือเรื่องของย่าน (District) ควรสร้างความชัดเจนเรื่องของย่านต่างๆ ในพื้นที่ อย่างเช่น ความชัดเจนเรื่องย่านการอนุรักษ์รูปแบบกลุ่มอาคารแบบล้านนา รวมไปถึงการสร้างภูมิทัศน์ย่านเกษตรกรรมที่แสดงออกถึงวิถีชุมชนแบบดั่งเดิมเอาไว้ ส่วนต่อมาคือผลการศึกษาเรื่อง ขอบเขต (Edges) เสนอแนะให้สร้างภูมิทัศน์โดยใช้พรรณไม้ท้องถิ่นให้เป็นรั้วธรรมชาติ จะช่วยสร้างอัตลักษณ์ทางด้านจินตภาพของเมืองในเรื่องขอบเขตของชุมชนมากยิ่งขึ้น ถัดมาคือเรื่องของจุดสังเกต (Landmark) ผลการศึกษาชี้ว่าควรสร้างจุดสังเกตุในระดับท้องถิ่น อย่างเช่นจุดสังเกตุซุ้มทางเข้าของชุมชน จุดสังเกตุบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม จะทำให้จินตภาพของพื้นที่มีจุดสังเกตให้คนรับรู้มากยิ่งขึ้น และสุดท้ายคือจุดศูนย์รวม (Node) เสนอแนะให้มีการสร้างศูนย์กลางของชุมชนให้เป็นศูนย์หัตถกรรมเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งเมื่อองค์ประกอบจินตภาพของเมือง ทั้ง 5 เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แก่ชุมชนแล้ว จะทำให้ภูมิทัศน์ทางด้านวัฒนธรรมของชุมชนมีความสวยงามตามแนวคิดและทฤษฎีจินตภาพของเมือง สามารถสร้างการรับรู้แก่ผู้ที่พบเห็นเพื่อประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวให้แก่ชุมชนแช่แห้งได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงไกร เกิดศิร พรพจน์สุขเกษม และวิชัย บุญวาศ. (2558). การศึกษาจินตภาพและภูมิทัศน์เมืองเพื่อการติดตั้งป้ายสื่อความหมายการท่องเที่ยวย่านประวัติศาสตร์สามแพร่ง. การประชุมวิชาการ "สถาปัตย์กระบวนทัศน์ 2558". คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปริญญา ปฏิพันธกานต์. (2563). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีจินตภาพของเมืองในการพัฒนาภูมิทัศน์เมือง.งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ประจำปีงบประมาณ 2563. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. จังหวัดเชียงใหม่.

พรภัทร อธิวิทวัสและสุวดี ทองสุกปลั่ง. (2549). การวิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพพื้นที่เพื่อรองรับการตั้งถิ่นฐานและการพัฒนาความเป็นเมืองในจังหวัดสมุทรสาครนครปฐม สมุทรสงคราม เพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้วิธี Potential Surface Analysis (PSA). วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สำนักงานคณะกรรมการพฒันาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สำนักงานคณะกรรมการพฒันาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ.

Kevin Lynch. (1977). The Image of The City. Cambridge : The MIT Press.