การพัฒนาที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมไมซ์ในพื้นที่ตามแผนยุทธศาสตร์การค้ากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ภายใต้กระบวนการจัดการโซ่อุปทานโดยอาศัยข้อมูลมหัต

Main Article Content

ชเนตตี พุ่มพฤกษ์
พัฒน์ พิสิษฐเกษม
กฤษดา เชียรวัฒนสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมไมซ์ในพื้นที่ตามแผนยุทธศาสตร์การค้ากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 และ 2) การพัฒนาการจัดการโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมไมซ์โดยอาศัยข้อมูลมหัต ในพื้นที่ตามแผนยุทธศาสตร์การค้ากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 โดยการศึกษาวิจัยเชิงผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึก สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไมซ์ ที่อยู่ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง จำนวน 200 คน ทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ในพื้นที่ตามแผนยุทธศาสตร์การค้ากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ส่วนใหญ่จะดำเนินการด้วยตนเอง และรองลงมาดำเนินการในรูปแบบการซื้อกิจการต่อ มีลักษณะการดำเนินการเป็นแบบเจ้าของคนเดียว และรองลงมาเป็นรูปแบบบริษัทจำกัด  ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ข้อมูลมหัต (Big Data) ส่งผลกระทบทางบวกต่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืนในอุตสาหกรรม ไมซ์ (MICE) ของประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.758 ดังนั้น ผลการวิจัยสอดคล้องกับสมมติฐาน และกระบวนการจัดการโซ่อุปทานส่งผลกระทบทางบวกต่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืนใน อุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ของประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.808

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2561 – พ.ศ. 2565 ฉบับทบทวน. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1. (2562). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลาง 1 (กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี) พ.ศ. 2566-2570. ราชบุรี: ศูนย์ปฏิบัติการจังหวัดราชบุรี.

ณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในโลจิสติกส์ โซ่อุปทานและโซ่คุณค่า. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 3(1), 4-15.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพโรจน์ ไววานิชกิจ. (2559). เทร็นด์เทคโนโลยีสำหรับโลก Social 2016. ไมโครคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ราชบัณฑิตยสภา. (2563) ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสภา.

สุพล พรหมมาพันธุ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อจริยธรรม และความมั่นคงปลอดภัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในบริบทของประเทศไทย 4.0: กรณีศึกษา สถาบันอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. (งานวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการองค์การมหาชน. (2559). โครงการจัดทำโมเดลไมซ์เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ระยะที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและ นิทรรศการองค์การมหาชน.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการองค์การมหาชน. (2562). โครงการศึกษาเพื่อจัดทำดัชนีอุตสาหกรรมไมซ์ไทย (Thailand MICE Index). สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564 สืบค้นจาก https:// elibrary.tceb.or.th/getattachment/3ada7693-0bd7-4543-89e7-95c07741c0dc/5753.aspx

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการองค์การมหาชน. (2561ก). MICE ไม่ได้แปลว่าหนู. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการองค์การมหาชน. (2561ข). ทิศทางกลยุทธ์ไมซ์ไทย ประจำปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการองค์การมหาชน.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561 – 2580). กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

อสมา กุลวานิชไชยนันท์. (2562). Big data series III: big data in real cases. กรุงเทพฯ: คอราไลน์.

Batty, M. (2013). Big data, smart cities and city planning. Dialogues in Human Geography, 3(3), 274–279.

Buathong, K. & Lai, P.C. (2017). Perceived Attributes of Event Sustainability in the MICE Industry in Thailand: A Viewpoint from Governmental, Academic, Venue and Practitioner. Sustainability, 9(7), 1151, 3-20.

Chienwattanasook, K. & Jermsittiparsert, K. (2019). Effect of Technology Capabilities on Sustainable Performance of Pharmaceutical firms in Thailand with moderating role of Organizational Culture. Systematic Review in Pharmacy, SRP, 10(2), 188-197.

Chienwattanasook, K. & Jermsittipasert, K. (2018). Supply Chain Integration, Supply Chain Risk Practices and Supply Chain Performance: A Contingent View. Opcion, 34(86). 2160-2177.

Chienwattanasook, K., Pinyokul, K., Rittiboonchai, W., Jermsittiparsert, K., & Jermsittiparsert, K. (2021). Impact of Relative Advantage and Computability on Cloud Computing Adaption: The Mediating Role Top Management Support and University Image. Journal of Management Information and Decision Sciences, 24(4), 1-17.

Collins, D. & Junghans, A. (2015). Sustainable Facilities Management and Green Leasing: The Company Strategic Approach. Procedia Economics and Finance 21, 128–136.

Habidin, N. F., Zubir, A. F. M., Fuzi, N. N., Latip N. A. M., & Azman, N. M. A. (2015). Sustainable manufacturing practices in Malaysian automotive industry: confirmatory factor analysis. Journal of Global Entrepreneurship Research, 5(14), 1-13.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6ed). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Hartmann, P.M., Zaki, M., Feldmann, N. & Neely, A. (2014). Big data for big business? A taxonomy of data-driven business models used by start-up firms. University of Cambridge, Service Alliance.

Junghans, A. (2011). State of the art in sustainable facility management. 6th Nordic Conference on Construction Economics and Organisation – Shaping the Construction/Society Nexus, (553-563). Danish Building Research Institute, Aalborg University.

Lambert, E. G., Barton-Bellessa, S. M. & Hogan, N. L. (2015). The Consequences of Emotional Burnout Among Correctional Staff. SAGE Open. 2015, 1–15.

Lambert, J. M., Bloom, S. E., Samaha, A. L., Dayton, E., & Rodewald, A. M. (2015). Serial

alternative response training as intervention for target response resurgence. Journal of Applied Behavior Analysis, 48(4), 765-780.

Loebbecke, C. & Picot, A. (2015). Reflections on societal and business model transformation arising from digitization and big data analytics: A research agenda. The Journal of Strategic Information Systems, 24(3), 149-157.

Mollenkopf, D. A., Frankel, R., & Russo, I. (2011). Creating Value Through Returns Management: Exploring the Marketing-Operations Interface. Journal of Operations Management, 29(5), 391-403.

Pedhazur, E. J. (1997). Multiple regression in behavioral research: explanation and prediction. Worth: Harcourt Brace College.

Porter, M. E., & Kramer, M. R. (2019). Creating shared value. In G. Lenssen & N. Smith (Eds.), Managing Sustainable Business. Dordrecht: Springer.

Preis, T., Moat, H.S. & Stanley, H.E. (2013). Quantifying trading behavior in financial markets using Google Trends. Scientific Reports, 3, 1-6.

Sumithra D. & Mishra, J. M. (2016). Efficacy of Mice Tourism Industry and Supply Chain Management and Integrated Approach. International Journal of Management Research & Review, 6(7), 894-903.