ขั้นตอนการส่งเข้ารับการพิจารณาในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
1. ผู้ยื่นบทความจะต้องเตรียมบทความโดยดำเนินการตามรูปแบบที่วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพากำหนดทุกข้อ
2. เมื่อผู้ยื่นบทความจัดรูปแบบบทความตามที่วารสารกำหนดเรียบร้อยแล้ว ขอให้ผู้เขียนกรอบข้อมูลลงในแบบฟอร์มการตรวจสอบบทความวิจัยก่อนส่งเข้ารับการพิจารณาในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพาตรวจสอบเอกสารว่าบทความของท่านมีความถูกต้องตามที่วารสารกำหนด ทั้งนี้ ผู้ยื่นบทความจะต้องดำเนินการตามรูปแบบที่วารสารกำหนดเท่านั้น หากผู้ยื่นบทความไม่ดำเนินการตามที่วารสารกำหนดบทความดังกล่าว จะไม่ได้รับการพิจารณา
3. ขั้นตอนการส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณา โดยให้ผู้เขียนส่งบทความผ่านระบบ ThaiJo เท่านั้นเอกสารประกอบมีดังนี้
3.1 บทความวิจัยในรูปแบบไฟล์ Word
3.2 แบบฟอร์มการตรวจสอบบทความวิจัยก่อนส่งเข้ารับการพิจารณาในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา (downloadแบบฟอร์ม)
4. เมื่อผู้ยื่นบทความส่งบทความผ่านระบบ ThaiJo เรียบร้อยแล้วทางกองบรรณาธิการวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จะตรวจสอบ ความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ของรูปแบบบทความ และ ขอบเขตของวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ของบทความของท่าน เมื่อทางกองบรรณาธิการฯ พิจารณาแล้วว่า ผ่านการพิจารณาด้านคุณภาพในเบื้องต้นแล้ว สามารถการส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาต่อไปได้ ทางกองบรรณาธิการ ฯ จะเป็นผู้แจ้งให้ผู้ยื่นบทความได้ทราบเมื่อต้องชำระค่าธรรมเนียม
5. ขั้นตอนการชำระเงินขอให้ผู้ยื่นบทความชำระเงินผ่าน ธนาคาร : กรุงไทย (KTB) สาขา มหาวิทยาลัยบูรพา เลขที่บัญชี : 386-1-00442-9 ชื่อบัญชี : มหาวิทยาลัยบูรพา หลังจากชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว ให้ส่งหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียม และแบบฟอร์มชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางกล่องข้อความกระทู้สนทนา (Discussion) ของผู้ยื่นบทความในระบบ ThaiJo เพื่อกองบรรณาธิการฯ จะดำเนินการในขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารการชำระค่าธรรมเนียมต่อไป
ข้อกำหนดของบทความต้นฉบับและรูปแบบในการเขียนบทความ (Manuscript Requirements and Style Guide for Authors)
บทความที่จะส่งควรจะมีความกระชับและได้ใจความชัดเจนนอกจากนี้ผู้ส่งบทความจะต้องเขียนบทคัดย่อ (ความยาวไม่น้อยกว่า 150 คำ และไม่ควรเกิน 250 คำ) ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ผู้ส่งบทความควรตรวจสอบความถูกต้องของการพิมพ์ต้นฉบับ เช่น ตัวสะกดตัวอักษร วรรคตอน ความเหมาะของการใช้ภาษาโดยเขียนบทความไม่เกินจำนวน 20 หน้า (ไม่รวมการอ้างอิง) และการคัดลอกผลงานในบทความจะต้องไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ตรวจโดยโปรแกรม turnitin มีองค์ประกอบดังรายละเอียดต่อไปนี้
บทความวิชาการ หัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้ชัดเจน และมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน รวมถึงมีการใช้ทฤษฎีวิเคราะห์และเสนอประเด็นอย่างสมบูรณ์
บทความวิจัย ควรให้มีการนำเสนอการวิจัย และผลที่ได้รับอย่างเป็นระบบโดยควรมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. บทนำ ที่ครอบคลุมความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย หรือที่มาของมูลเหตุของการเขียนบทความ พร้อมทั้งเสนอภาพรวมของบทความรวมถึงนิยามศัพท์เฉพาะ
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย ชี้แจงถึงจุดมุ่งหมายที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาวิจัย
3. กรอบแนวคิดการวิจัย ชี้แจงความเชื่อมโยงตัวแปรต้นตัวแปรตามในการทำวิจัย
4. ขอบเขตการวิจัย การจำกัดหรือกำหนดขอบเขตให้แก่การวิจัย
5. ทบทวนวรรณกรรม ที่ครอบคลุมทฤษฎี และบทความที่ผู้วิจัยใช้ในการทำวิจัยนี้
6. ระเบียบวิธีวิจัย ที่อธิบายถึงระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยนี้ตามประเภทของบทความวิจัย รวมถึงการเก็บข้อมูล หรือเครื่องมือที่ใช้ในการทาวิจัยอย่างชัดเจน
7. ผลการวิจัย เป็นการนำเสนอผลการวิจัยอย่างชัดเจนตามหัวข้อที่ได้ศึกษา
8. สรุปผลการวิจัย เป็นการสรุปผลการวิจัย โดยนำผลวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเขียนสรุปเป็นข้อ ๆ
9. อภิปรายผล เป็นการอภิปรายผลของงานวิจัยและประเด็นสำคัญที่ได้จากการศึกษารวมถึงประโยชน์ทั้งทางด้านทฤษฎีและเชิงการนาไปใช้ในการบริหารธุรกิจ
10. ข้อเสนอแนะ คือประเด็นที่ผู้วิจัย ข้อเสนอแนะที่ได้มาจากผลการวิจัยหรือสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัย ทั้งในรูปแบบข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย และข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไ
*ผู้ที่ประสงค์จะส่งบทความจะต้องเขียนชื่อ ตำแหน่ง และสถานที่ทำงานหรือสถานศึกษา รวมทั้งอีเมล์ที่ติดต่อได้ไว้ในเชิงอรรค
การตั้งค่าหน้ากระดาษ
พิมพ์ด้วยกระดาษ A4 พิมพ์หน้าเดียวระยะบรรทัด 1 เท่า (Single space) พร้อมระบุเลขหน้าตั้งระยะขอบกระดาษขอบบน 1 นิ้วขอบล่าง 1 นิ้วขอบซ้าย 1.25 นิ้วขอบขวา 1.25 นิ้ว
ชื่อบทความ
ใส่ชื่อบทความเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษโดยใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 20 พอยต์ตัวหนากึ่งกลางหน้ากระดาษ
ชื่อผู้เขียน
ใส่ชื่อ-สกุล ผู้เขียนทั้งในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยไม่ใช่คำนำหน้า ตำแหน่ง ยศ
บทคัดย่อ
บทคัดย่อต้องเขียนเป็นภาษาไทยและอังกฤษ โดยมีความยาวไม่น้อยกว่า 150 คำ และไม่เกิน 250 คำ
- ภาษาไทย ให้พิมพ์คำว่า “บทคัดย่อ” ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 18 พอยต์ ตัวหนากึ่งกลางหน้ากระดาษเนื้อเรื่องบทคัดย่อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 พอยต์
- ภาษาอังกฤษ ให้พิมพ์คำว่า “Abstract” ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 18 พอยต์ ตัวหนากึ่งกลางหน้ากระดาษเนื้อเรื่องบทคัดย่อใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 พอยต์
เนื้อหา
หัวเรื่อง
- ภาษาไทย ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 18 พอยต์ ตัวหนาหัวเรื่องย่อยใช้ TH SarabunPSK ขนาด 16 พอยต์ ตัวหนาชิดขอบซ้ายของกระดาษ
- ภาษาอังกฤษ ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 18 พอยต์ ตัวหนาหัวเรื่องย่อยTH SarabunPSK ขนาด 16 พอยต์ ตัวหนาชิดขอบซ้ายของกระดาษ
เนื้อเรื่องของบทความ
- ภาษาไทย ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 พอยต์
- ภาษาอังกฤษ ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 พอยต์
การพิจารณาและประเมินบทความ (Editorial and review process)
บทความที่จะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์จะผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อทeการกลั่นกรองและตรวจสอบคุณภาพของบทความโดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1: กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้ส่งบทความทราบเมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยตามข้อกำหนดของการส่งบทความจากนั้นกองบรรณาธิการจะตรวจสอบของหัวข้อและเนื้อหาของบทความถึงความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของวารสารการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพา
ขั้นที่ 2: ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรว่าบทความเป็นบทความที่เหมาะสมก็จะดำเนินการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่สามารถทราบข้อมูลของผู้ส่งบทความในกระบวนการพิจารณากลั่นกรองนี้ (blind) และผู้ทรงคุณวุฒิจะเป็นผู้พิจารณาว่าบทความอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบบทความ (Peer Review) ซึ่งเป็นบุคคลจากหลายหลายสถาบัน อย่างน้อย 3 คน (Double – blind peer review) และจะต้องผ่านการพิจารณาว่าเหมาะสมให้ตีพิมพ์เผยแพร่โดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยจำนวน 2 ท่าน หากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ใน 3 ท่าน พิจารณาว่าไม่เหมาะสมที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ทางกองบรรณาธิการแจ้งให้ผู้เขียนทราบทันที กรณีที่ผ่านการพิจารณากองบรรณาธิการจะตัดสินใจว่าบทความนั้น ๆ ควรจะลงตีพิมพ์ในวารสารการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพาหรือควรที่จะส่งให้กับผู้ส่งบทความนำกลับไปแก้ไขก่อนพิจารณาอีกครั้งหนึ่งหรือปฎิเสธการลงตีพิมพ์โดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เขียนจะต้องดำเนินการแก้ไขบทความให้สมบูรณ์มากที่สุด ถึงจะมีสิทธิ์ลงตีพิมพ์ในวารสารการจัดการธุรกิจมหาวิทยาลัยบูรพา ต่อไป
การเขียนเอกสารอ้างอิง (คลิกที่นี้)