ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของน้ำดื่มผสมวิตามินที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มของวัยรุ่นในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ลภัสวัฒน์ ศุภผลกุลนันทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ได้มุ่งเน้นศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของน้ำดื่มผสมวิตามิน และพฤติกรรมการดื่มของวัยรุ่นในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวมทั้งการตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิผลต่อพฤติกรรมด้านความถี่ครั้งต่อสัปดาห์ในการดื่มน้ำดื่มผสมวิตามิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ วัยรุ่นอายุระหว่าง 17 – 27 ปี ที่เคยซื้อน้ำดื่มผสมวิตามินในระยะเวลา   3 เดือนที่ผ่านมา ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ และค่าความโด่ง สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ซึ่งผลการศึกษาได้สนับสนุนสิ่งที่ได้นำเสนอเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านความถี่ครั้งต่อสัปดาห์ในการดื่มน้ำดื่มผสมวิตามิน โดยปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด แต่อย่างไรก็ตามมีเพียงสองปัจจัย ได้แก่ ราคา และการส่งเสริมการตลาด ที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมด้านความถี่ครั้งต่อสัปดาห์ในการดื่มน้ำดื่มผสมวิตามินของวัยรุ่นในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สำหรับผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มน้ำดื่มผสมวิตามิน ได้ถูกแสดงในบทความเพื่อนำไปประยุกต์ใช่ในธุรกิจต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา วงศ์เซ็นต์. (2561). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ คุณค่าตราสินค้าและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร VISTRA ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การตลาดมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิรฐา มั่นเหมาะ. (2561). รูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มน้ำผลไม้สกัดจากพรุนและเบอร์รี่ยี่ห้อแบรนด์วีต้าของผู้บริโภคเพศหญิง ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐกฤตา วิจิตรสมบัติ. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์น้ำดื่มผสมวิตามิน. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลับมหิดล.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

แบรนด์บุฟเฟ่ต์. (2564). สำรวจตลาดน้ำดื่มวิตามิน 9 แบรนด์! “แมนซั่ม” ไม่หวั่นมาทีหลัง ใช้กลยุทธ์ Push & Pull ให้คนดื่มแทนน้ำเปล่า. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, สืบค้นจากhttps://www.brandbuffet.in.th/ 2021/03/vitamin-water-market-and-tcp-launch-mansome-vitamin-water/.

ผู้จัดการออนไลน์. (2563). ส่องพาเหรด “น้ำดื่มผสมวิตามิน” สวนสนามคึกคัก ชิงตลาด 5.5 พันล้าน ดื่มแล้วดี หรือ แค่โฆษณา!?. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, สืบค้นจากhttps://mgronline.com/daily/ detail/9630000090954.

โพสซิชั่นนิ้ง. (2564). ยังมาแรง! “ฟังก์ชันนัลดริงก์” เติบโต 20% แม้คนออกจากบ้านน้อยลง “ผู้ใหญ่” นิยมดื่ม. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2564, สืบจาก https://positioningmag.com/1357425.

มาร์เก็ตเธียร์. (2563). น้ำดื่มผสมวิตามินร้อนแรงต่อเนื่อง มีเยอะจนเลือกดื่มไม่ถูก. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/219422.

รัตนาวดี พัชรภูวดล, อัจฉราภรณ์ อมรสิทธินนท์, ทศพร สุขะ, วชิรวิทย์ หอมบุญยงค์ และ ฌานิกา ศรีวรรณวิทย์. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อตราสินค้ากรณีศึกษาคอฟฟี่ช็อปวิทยาลัยดุสิตธานี กรุงเทพฯ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(ฉบับพิเศษ), 309-326.

วิภารัตน์ ศรีบุรินทร์. (2560). ระดับผลิตภัณฑ์ และการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อเครื่องดื่มน้ำผักผลไม้ยี่ห้อดอยคำของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การตลาดมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิรานนท์ ตุ้มสูงเนิน และสุมาลี สว่าง. (2564). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มวิตามินซี C-vitt ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. รายงานการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติครั้งที่ 16 ปีการศึกษา 2564, (น.918 – 931). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). น้ำดื่มผสมวิตามิน เซกเมนต์ใหม่…บุกตลาดเครื่องดื่ม. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, สืบค้นจาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Vitamin-Water-FB-150920.aspx.

สามารถ ดีพิจารณ์. (2559). รูปแบบกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อชาเขียวพร้อมดื่ม (RTD) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ:สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

สุภาพร อุ่นเมืองเงิน, เอก บุญเจือ, และธันยานี โพธิสาร. (2560). พฤติกรรมของเจเนอเรชั่นเอ็มในอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อการเลือกซื้อเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์ (รายงานผลงานวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานบริหารทะเบียน. (2563). จำนวนประชากรอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2564. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByAge.php.

เอสเอ็มอีวัน. (2564). ธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพเติบโตสวนกระแส หลัง COVID-19. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, สืบจาก https://www.smeone.info/posts/view/204

Ajj, N.S., Djawahir, A.H., & Rofig, A. (2019). The influence of products and promotion on purchasing decision mediated in purchase motivation. Journal of Applied Management (JAM), 17(1), 152-161.

Quansah, F., Okoe, A., & Angenu, B. (2015). Factors Affecting Ghanaian Consumers’ Purchasing Decision of Bottled Water. International Journal of Marketing Studies, 7(5). 76-87

Hair, J. F., Anderson, B. W., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis with reading (4th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Liew, J. Y. & Zain, M. N. (2021). An exploration of the key factors affecting consumer buying behavior of instant food products: A case study of Kota Bharu. Malaysia: Universiti Malaysia Kelantan.

Kim, J. O., & Mueller, C. W. (1978). Factor analysis: statistical methods and practical issues. Beverly Hills: Sage.

Kotler, P., Armstrong, G., & Opresnik, M, O. (2018). Principles of marketing. (17th ed.). Harlow: Pearson.

Patel, L. & Patel, P. (2020). A study on consumer buying behavior towards packed water bottle at Dharti water pvt. Ltd. Year 2020, International Journal of Engineering Development and Research, 8(2) ,73-83.

Arslanagid, M., Peštek, A. & Bečirovid, A. (2012). Influence of Packaging Design on Purchase Decision Making: Comparing Bottled Water Brands on B&H Market. International Journal of Sales, Retailing and Marketing, 1(1), 30-38.