ความเป็นไปได้ของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทย กรณีศึกษาภาคเหนือตอนล่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เป็นมิติใหม่ของการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงบริการทางการแพทย์กับการท่องเที่ยวถือเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ด้านการแพทย์แผนไทยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 2) วิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทยในภาคเหนือตอนล่าง และ 3) ประเมินความเป็นไปได้ของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทยในภาคเหนือตอนล่าง การวิจัยครั้งนี้ทำการรวบรวมข้อมูลและการสัมภาษณ์จากกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทยพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 40 คน คือ เป็นผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด โรงพยาบาลบาลที่มีการให้บริการการแพทย์แผนไทย วิสาหกิจชุมชนที่ปลูกพืชสมุนไพร สถานประกอบการ เป็นต้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า สถิติที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยในเขตภาคเหนือตอนล่างระหว่างปี 2560-2564 มีแนวโน้มการใช้บริการเพิ่มขึ้น ทั้งนี้หากเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวพบว่า ภาคเหนือตอนล่างมีหน่วยบริการการแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบันที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวจำนวนไม่มาก และสมรรถนะการให้บริการของหน่วยบริการมีขีดจำกัด ดังนั้นการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แผนไทยของภาคเหนือตอนล่างควรสร้างความแตกต่างของการจัดบริการ โดยการดึงนำอัตลักษณ์เชิงพื้นที่ และการอำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างจากการจัดบริการของภูมิภาคอื่น ๆ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่จะตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา จะต้องเป็นบทความที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น ๆ ทั้งนี้ หากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้น ๆ มิใช่ความเห็นและความรับผิดชอบใด ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา สำหรับในกรณีผู้ประสงค์จะนำข้อความในวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์
References
Chaihomros, N. (2021). A Study on the Effectiveness of General Thai Massage versus Royal Thai Massage in Reducing Shoulder, Neck, and Head Pain among Clients at the Thai Traditional Medicine and Alternative Medicine Department, Nakhon Pathom Hospital. Journal of Thai Traditional Medicine Research, 7(1), 67-84.
Chiangthong, A., Pachuen, O., Boonsuya, C., & Sawatdhichai, C. (2017). Quality and Accessibility of Thai Traditional Medicine Hospital Services. Journal of Clinical Education, Phrapokklao Hospital, 34, 206-221.
Chumphon, P. (2011). History of Thai Traditional Medicine: A Study of Medical Texts. Odean Store Publishing.
Kulakanyun, P. (2017). Medical Tourism in Thailand: Challenges and Development. Journal of Social Media Innovation, 5(1), 125-132.
Limpananon, J., Chankase, R., & Amnoypol, S. (2009). Knowledge Management of Thai Medicine and Herbal Drugs in Community Hospitals. Thai Traditional Health Institute under the Health System Research Institute.
Limphakdee, W., Leewanan, C., & Kuptniratisaikool, W. (2014). The Study of the Effectiveness of Biweekly Acupuncture for Pain Management in Osteoarthritis Patients. Rehabilitation Medicine Journal, 24(1), 5-12.
Meekusol, S., Kasemsuk, W., Tantivongkunakorn, A., & Siripakkadeekarn, C. (2020). Status and Demand for Health Tourism Integrated with Cultural Tourism and Thai Wisdom: A Case Study of Ayutthaya Province from Stakeholder Perspectives. Journal of Royal Thai Army Nurses, 21(3), 453-462.
Ministry of Public Health. (2021). Medical and Health Information, Ministry of Public Health. Retrieved February 12, 2024, from https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
Ministry of Tourism and Sports. (2023). Annual Report 2020: Sports Authority of Thailand, Ministry of Tourism and Sports. Retrieved February 12, 2024, from chrome-extension:// efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.moj.go.th/attachments/20220622100115_12671.pdf
Ritplak,S., Sathiranan, S., & Metheewankul, P. (2007). Modern Health Tourism in Southern Isan. Nakhon Ratchasima College.
Sukhothai Thammathirat Open University. (2008). Concepts and Theories of Thai Traditional Medicine. Sukhothai Thammathirat Open University.