การศึกษาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ

Main Article Content

ต้นตระการ ตีตรา
เพียงแข ภูผายาง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอน
สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ ต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จ าแนก
ตามหน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษาและขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะส าหรับการพัฒนาสมรรถนะการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การศึกษาคือ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ปีการศึกษา 2563 จ านวน 387 คน กำหนดขนาด
กลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางส าเร็จรูปของทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ผลการศึกษาพบว่า 1) สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาจังหวัดชัยภูมิตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไป
หาน้อย ดังนี้ ด้านบริหารจัดการการเรียนรู้ ด้านพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา
และด้านส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา จ าแนก
ตามหน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษาและขนาดสถานศึกษา จำแนกตามหน่วยงานต้นสังกัด และ จ าแนกตามขนาด
สถ าน ศึกษ า จำน วน 2 คู่ ภ าพ รวมพบ ว่ า มีค ว าม แตกต่ างกัน อย่ างมีนั ยสำคัญ ท างสถิติที่ ระดับ .05
และ 3) ข้อเสนอแนะส าหรับการพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการ ผู้บริหารควรมีสมรรถนะให้เท่าทันการ
เปลี่ยนแปลงทางวิชาการอยู่เสมอเพื่อที่จะทำให้องค์กรมีคุณภาพและเกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกต ขาวสะอาด. (2559). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ณัฐธยาน์ ชำนาญกิจ. (2561). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส

ทางการศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1.

สารนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ทิพวัลย์ อ่างคำ. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการสู่ความเป็นเลิศมาตรฐานสากล สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหาร

การศึกษาและผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์

สมฤทัย อยู่รอด. (2555). ความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะหลักของพนักงานมหาวิทยาลัย (สายสนับสนุน)

สังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. ภาคนิพนธ์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สิริพร ทองประเสริฐ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการ

ของผู้บริหารงานวิชาการโรงเรียนในอำเภอแก่งหางแมว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

จันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรภี ศรีหิรัญ. (2561). การศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา

โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ.

สุรเชษฐ เดชประสิทธิ์. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2551). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

McClelland, D.C. (1973). Human motivation. London: Cambridge University.

Spencer & Spencer. (1993). Competency at Work : Model for Superior Performance.

New York: Wily & Sons.