การสืบสานมรดกภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดบุรีรัมย์ การสืบสานมรดกภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

อโศก ไทยจันทรารักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจ การรวบรวมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สู่การสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์
ในจังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์รองรับการพัฒนา ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับให้บริการผู้เข้าเยี่ยมชมศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการโดยเลือกจากตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 194 ชุมชน
จากอำเภอที่ปรากฏกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ ประกอบด้วย 4 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ 1) กลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาวจากอำเภอนาโพธิ์ 2) กลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมรจากอำเภอห้วยราช 3) กลุ่มชาติพันธุ์ไทยโคราชจากอำเภอนางรอง และ 4) กลุ่มชาติพันธุ์ไทยกูย หรือชาวส่วยจากอำเภอสตึก ซึ่งแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ก็จะมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป
โดยกำหนดประเด็นในการสำรวจ ได้แก่ ประวัติชุมชน ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีพื้นบ้าน เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน สุขภาพอนามัย อาหารที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษ เครื่องนุ่งห่ม ศิลปกรรม ดนตรี การแสดงพื้นบ้าน สถานที่สำคัญในชุมชน แหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชน พิพิธภัณฑ์หรือแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน พิธีกรรมและความเชื่อ การละเล่นพื้นบ้าน ตำนานหรือนิทานพื้นบ้าน ค่านิยม วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการดำรงชีพ ผลการวิจัยเชิงสำรวจ
ทำให้ได้ฐานข้อมูลที่รวบรวมไว้ในแบบอิเล็กทรอนิกส์จัดเก็บในเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สามารถนำข้อมูลในการช่วยส่งเสริม อนุรักษ์และสืบทอดให้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่
คนรุ่นหลังในสังคมได้รู้จักและเข้าใจ เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้วัฒนธรรมได้คงอยู่และถูกสืบทอดให้ยาวนานมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สมมาตร์ ผลเกิด. (2551). ประวัติศาสตร์และโบราณคดีบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : เอกสารประวัติศาสตร์เมืองบุรีรัมย์

เทศบาลเมืองบุรีรัมย์.

ส่งเสริมวัฒนธรรม, กรม. สถาบันวัฒนธรรมศึกษา. (2561). มรดกภูมิปัญญาอีสาน. กรุงเทพมหานคร :

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

________. (2562). ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอีสาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สันติ เล็กสุขุม. (2557). ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย. กรุงเทพมหานคร : เมืองโบราณ.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2553). บุรีรัมย์มาจากไหน?. กรุงเทพมหานคร : แม่คำผาง.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2538). ศิลปะในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานจังหวัดบุรีรัมย์. (2563). ข้อมูลพื้นฐาน จังหวัดบุรีรัมย์. http://www.buriram.go.th/

downloads/buriram-gen.pdf. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2563.