การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) โดยใช้โปรแกรม Geogebra เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการวิเคราะห์เชิงตัวเลขสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) โดยใช้โปรแกรม Geogebra รายวิชาการวิเคราะห์เชิงตัวเลข สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) โดยใช้โปรแกรม Geogebra กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ชั้นปีที่ 3 หมู่ 2 จำนวน 27 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) โดยใช้โปรแกรม Geogebra และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพสื่ออิเล็กทรอนิกส์และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) โดยใช้โปรแกรม Geogebra ได้ค่า E1/E2 เท่ากับ 83.54/87.84 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดที่ 80/80 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) โดยใช้โปรแกรม Geogebra สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและวิจัย ในวงการวิชาการ ไม่อนุญาตการใช้ประโยชน์เพื่อการแสวงหากำไร
ข้อความที่ปรากฏในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้แต่ง ซึ่งวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ประเมินคุณภาพตามหลักวิชาการ ผลกระทบอันเกิดจากความคิดเห็นของผู้แต่งเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งเอง
References
กรมวิชาการ. (2544). คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสอนค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรกรแห่งประเทศไทย
ชัยยงศ์ พรหมวงศ์. (2546). การผลิตชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2543. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วุฒิชัย ภูดี. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตโดยใช้การสอนแบบเปิดด้วยโปรแกรม GeoGebra. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติศรีโคตรบูรณ์ศึกษา ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยนครพนม, 831-841
_________. (2562). GeoGebra in 20 Lessons. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). คู่มือการวัดและประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)
_________. (2548). คู่มืออ้างอิง The Geometer’s Sketchpad ซอฟแวร์สำรวจเชิงคณิตศาสตร์เรขาคณิตพลวัต. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
_________. (2549). เรียนรู้การใช้งานเบื้องต้น The Geometer’s Sketchpad ซอฟแวร์สำรวจเชิคณิตศาสตร์เรขาคณิตพลวัต. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
_________. (2550). ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สมพล พวงสั้น. (2559). พัฒนาแบบฝึกทักษะร่วมกับโปรแกรมจีโอจีบร้าสำหรับการหาปริพันธ์. E-Journal Science and Technology Silpakorn University, 3(2), 16-26.
Yılmaz Zengina. (2012). The effect of dynamic mathematics software geogebra on student
achievement in teaching of trigonometry. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 31, 183 – 187
Mehmet Bulut. ( 2015). The Effects of GeoGebra on Third Grade Primary Students’ Academic
Achievement in Fractions. Journal of Mathematics Education, 11(2), 347-355