การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม ร่วมกับวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม

Main Article Content

ชัยภัทร เทศแย้ม
สุดารัตน์ แผนไธสง
จักรพงษ์ วารี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม ร่วมกับวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม  โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อการสอนเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่อง การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม เรื่อง การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 3 "เทศบาลอนุสรณ์" ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์  จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม  แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน  40 ข้อ  และแบบสอบถามความพึงพอใจ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

ทัพทิวา นามวงษ์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศิริธรรมวิทยา โดยใช้โปรแกรมการเรียนรู้ PNK. การประชุมวิชาการระดับชาติ การเรียนรู้เชิงรุก ครั้งที่ 6, 379-387.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พัชรินทร์ บุญสมธป. (2560). การสร้างความมั่นใจในชั้นเรียนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม. วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 38(1), 98–109.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : คณะครุ ศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ไพโรจน์ คะเชนทร์. การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก

www.waltoongpel.com /Sarawichakarn/wichakarn/1-10/

วศกร เพ็ชรช่วย. (2557). อุปราคา สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 การพัฒนาสื่อความจริงเสมือนบนเอกสาร ประกอบการเรียน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาวิชาการ.

สุภาพ สิทธิศักดิ์. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5Es กับการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4MAT. ( วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา).

สุภาภรณ์ อุ้ยนอง. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://supapornouinong.blogspot.com/2018/04/blog-post_25.html

สุวิมล ว่องวานิช. (2546). การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

อำนาจ ชิดทอง. (2555). การประยุกต์เทคนิคความเป็นจริงเสริมเพื่อผลิตสื่อการสอนสาหรับโครงสร้างไม้.

เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Martin. การพัฒนาหนังสือประกอบสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีเสมือนจริง. [เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก

http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25610615_104738_5848.