การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

สัญชัย ครบอุดม
สุวัฒน์ พัดไธสง
ปรีญานุช ขาวสระ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/6โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ ที่เรียนในภาคเรียน ที่ 1/2563 คือ นักเรียนทั้งหมด 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ค่า E1/E2 และค่า t-test (Dependent)


            ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียน


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.62/91.21 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง วิทยาการคำนวณ   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ โดยรวมโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.92 อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (2551). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร

แห่งประเทศไทย.

กันยากร คุณเจริญ. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยโปรแกรม I love library : เรื่อง

ครอบครัวอบอุ่นภูมิคุ้มกันของเยาวชน สำหรับนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ

(วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต), กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

กฤษณะ ทองเชื้อ. (2551). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง วัดชลธาราสิงเห (วัดพิทักษ์

แผ่นดินไทย). (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ควรชิต มาลัยวงศ์. (2540). ทัศนะไอที. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แห่งชาติ.

ชาริณี เดชจินดา. (2535), ทฤษฎีการแสวงหาความพึงพอใจไว้ว่าบุคคลพอใจจะกระทำสิ่งใด ๆ ที่

ให้มีความสุขและจะหลีกเลี่ยงไม่กระทำในสิ่งที่เขาจะได้รับความทุกข์หรือความ

ยากลำบาก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ชูศรี วงศ์รัตนะ, (2527). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรี

นครรินทรวิโรฒประสานมิตร.

ณัฐกร สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวีพงษ์ หินคำ. (2541). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการควบคุมการจราจรด้วยระบบ

คอมพิวเตอร์ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่, (การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตร

มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง, บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. (2542). กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.

มาลิน ธราวิจิตรกุล. (2556).ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียเรื่ององค์ประกอบในการออกแบบกราฟิก

สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ระหว่างนักศึกษาสาขาศิลปกรรม และนักศึกษาสาขา

การออกแบบ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิค

ศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

มูนีเร๊าะ ผดุง และเสาวนีย์ ดือราแม. (2562). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมีปฏิสัมพันธ์

เพื่อการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาแม่ ในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้.

วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 14 (3), 318.