การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R เชิงรุก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R เชิงรุกที่มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนกับก่อนเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R เชิงรุก กับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R เชิงรุก และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R เชิงรุก กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ จำนวน 20 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามแผนการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R เชิงรุก จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าคะแนนทีแบบจับคู่เปรียบเทียบสิ่งทดลอง
ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R เชิงรุก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.34/81.79 ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.60 คะแนนเฉลี่ยการทดสอบหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R เชิงรุกโดยรวม ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและวิจัย ในวงการวิชาการ ไม่อนุญาตการใช้ประโยชน์เพื่อการแสวงหากำไร
ข้อความที่ปรากฏในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้แต่ง ซึ่งวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ประเมินคุณภาพตามหลักวิชาการ ผลกระทบอันเกิดจากความคิดเห็นของผู้แต่งเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งเอง
References
กิติยา จินดารัตน์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนรูปแบบการเรียนเชิงรุก (Active Learning) และความพึงพอใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3. สืบค้นจาก http://www.thaischool.in.th/_files_school/73100304/workteacher/
_1_20210601-104255.pdf เมื่อ 14 มกราคม 2565.
กรรณิการ์ ประทุมโทน และศิริภรณ์ บุญประกอบ. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก โดยใช้หนังสือนิทาน เรื่อง การทำนาโยน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม., 14 (2), 371 – 382.
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. คณะศึกษาศาสตรื มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: ครองช่างพริ้นติ้ง
จิตวดี ทานะขันธ์, (2560). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้และความพึงพอใจการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โดยการใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และแบบปกติ. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. สาขาการสอนภาษาอังกฤษ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. ข่าวสารวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2553. สืบค้นจาก http://www.drchaiyot.com เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2563.
ถนอมจิตร สังข์จรูญ. (2552). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนด้วยวิธี เอส.คิว.ไฟว์.อาร์.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรประภา ชัยนา. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงรุกและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา”. (2561). รายงานผลการทดสอบระดับชาติโรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.
“______________________”. (2562). รายงานผลการทดสอบระดับชาติโรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555, เมษายน-กันยายน). คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมนึก ภัททิยธนี. (2552). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). แนวทางการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ : Active Learning. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สุคนธ์ สินธพานนท์และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9199 เทคนิคพริ้นติ้งนิทาน.
สุภาวดี ยนต์ชัย. (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุรีย์ เตียศิริ. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R วิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (2551). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย.
Christine Nuttall. (2005). Teaching reading skills as a foreign language. Thailand, Mc Milan Publisher.