การประเมินโครงการพัฒนางานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านเมืองแก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 โดยประยุกต์ใช้การประเมินรูปแบบซิปป์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการประเมินโครงการพัฒนางานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านเมืองแก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 โดยประยุกต์ใช้การประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP model) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ปกครอง และนักเรียน ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งหมด 173 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจ มีค่าความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์การวิจัย (IOC) มีค่า 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเพื่อประเมิน เท่ากับ 0.95 และมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.56-0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า การประเมินโครงการพัฒนางานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านเมืองแก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ ด้านสภาพแวดล้อม และด้านปัจจัยเบื้องต้น ตามลำดับ
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและวิจัย ในวงการวิชาการ ไม่อนุญาตการใช้ประโยชน์เพื่อการแสวงหากำไร
ข้อความที่ปรากฏในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้แต่ง ซึ่งวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ประเมินคุณภาพตามหลักวิชาการ ผลกระทบอันเกิดจากความคิดเห็นของผู้แต่งเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งเอง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
จํารัส นองมาก. (2544). ปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษา.กรุงเทพฯ: ซันปรินติง.
ทิศนา แขมมณี. (2546). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์. มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ไพศาล หวังพานิช (2544). การวัดและประเมินผลระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2541). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
โรงเรียนบ้านเมืองแก. (2561). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR.) ปีการศึกษา 2563. บุรีรัมย์: โรงเรียนบ้านเมืองแก.
สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2544). วิธีวิทยาการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2561). รายงานประจำปี 2561 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
สำราญ มีแจ้ง. (2544). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่ง.
อุทุมพร จามรมาน. (2550). 9 ขั้นตอนการทำประกันคุณภาพการศึกษาที่ครบวงจร. กรุงเทพฯ: ฟันนี่.
Alkin, M.C. (1969). Evaluation Theory Development Evaluation Comment. Illinois: F.E.peecock publishers.
Stufflebeam D.L. (2003) The CIPP Model for Evaluation. In: Kellaghan T., Stufflebeam D.L. (eds) International Handbook of Educational Evaluation. Kluwer International Handbooks of Education, vol 9. Springer, Dordrecht. https://doi.org/10.1007/978-94-010-0309-4_4
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rd Ed. New York: Harper and Row.