การพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนบ้านเมืองแก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนบ้านเมืองแก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียน จำนวน 140 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น 2) สร้างโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนบ้านเมืองแก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูที่มีวิธีปฏิบัติเป็นเลิศในการสอนออนไลน์ จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินโปรแกรม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับน้อย สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นเรียงลำดับความต้องการจำเป็น 1) ด้านเทคโนโลยี 2) ด้านเนื้อหา และ 3) ด้านการสอน
- โปรแกรมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนบ้านเมืองแก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) เนื้อหา ประกอบด้วย หน่วยที่ 1 ด้านเทคโนโลยี หน่วยที่ 2 ด้านเนื้อหา หน่วยที่ 3 ด้านการสอน 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การประเมินผลการพัฒนา ผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและวิจัย ในวงการวิชาการ ไม่อนุญาตการใช้ประโยชน์เพื่อการแสวงหากำไร
ข้อความที่ปรากฏในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้แต่ง ซึ่งวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ประเมินคุณภาพตามหลักวิชาการ ผลกระทบอันเกิดจากความคิดเห็นของผู้แต่งเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งเอง
References
กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), 1 - 6.
จีรกิติ์ ทองปรีชา (2563). การบริหารจัดการการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์ COVID - 19 ระดับมัธยมศึกษา พื้นที่โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. [เว็บบล็อก] เข้าถึงได้จากhttp://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2562_1597914679_6114832031.pdf.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2561). การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ใน ชุดวิชา 23728 นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธานี สุขโชโต และวรกฤต เถื่อนช้าง. (2563). การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ โควิด-19. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 8(2), 143 - 154.
ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
นิสาลักษณ์ จันทร์อร่าม. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. The Journal of Chulabhorn Royal Academy, 2(3), 1 - 17.
วีริยา ภูถาวร. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างคุณลักษณะครูผู้นำในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563, 25 มกราคม). แนวทางการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2563. [เว็บบล็อก] เข้าถึงได้จาก https://covid19.obec.go.th.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2548). สถิติการศึกษาของประเทศไทย ปีการศึกษา 2548. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). แนวทางจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: ครุสภา ลาดพร้าว.
สิรินธร วัชรพืชผล, และ จงกล จันทร์เรือง. (2558). “การพัฒนาบทเรียน ออนไลน์เรื่อง การใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเทคนิคการเรียนรู้ แบบปรับเหมาะกับความสามารถของนักเรียน มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอิสาน. The Eleventh National Conference on Computing and Information Technology”. การประชุมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: โรงแรมอโนมา.
วิธิดา พรหมวงศ์, ทัศนา ประสานตรี และ สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2564). สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารรัชต์ภาคย์. 15(2), 43 - 51.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Alibak M, Talebi H, Neshatdoost H. (2019). Development and Validation of a Test Anxiety Inventory for Online Learning Students. Journal of Educators Online, 16(2),n2.
Caffarella, Rosemarys. (2002). Planning Program for Adult Learner: a Practice Guide for Educators, Trainner and Staff Developer. San Francisco: Jossey-Bass Plublisher.
Care, E., Vista, A., & Kim, H. (2018). Assessment of transversal competencies: potential of resources in the Asian region. Bangkok and Paris: UNESCO.
Charney, C., & Conway, K. (2005). The trainer's tool kit. New York: AMACOM.
EDUCA. (2020, 20, May). EDUCA Poll reveals the needs of Thai teachers during COVID-19, Retrieved from https://www.educathai.com/videos/431.
Fink, A. (2015). Evaluation Fundamentals: Insight into Program. Effectiveness, Quality, and Value. Los Angeles: Sage.
Hill B. (2020). Coronavirus: origins, signs, prevention and management of patients. British Journal of Nursing, 29(7), 399 - 402.
Narine L, Meier C. (2020). Responding in a time of crisis: Assessing extension efforts during COVID-19. Advancements in Agricultural Development, 1(2): 12 - 23.