การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสังเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 ท่าน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสร้างรูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการ จัดทำคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ และตรวจสอบรูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 ท่าน ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยครูผู้สอนในกลุ่มโรงเรียนสว่างสูงกระสังที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 30 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า การนิเทศแบบบูรณาการเป็นกระบวนการและกิจกรรมที่มุ่งให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ส่งเสริม ปรับปรุงในการสอนของครูมี่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เกิดจากการบูรณาการการนิเทศแบบคลินิก การนิเทศแบบชี้แนะทางปัญญา และการนิเทศแบบพี่เลี้ยง
2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า รูปแบบการนิเทศมีกระบวนการ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้น 1 วางแผนกำหนดทิศทาง (D: Directional planning) ขั้น 2 ร่วมสร้างประสบการณ์ (C: Co-create the experience) ขั้น 3 ปฏิบัติการณ์จัดการ (O: Operations management) ขั้น 4 เรียนรู้เพื่อพัฒนา (L: Learn to develop) และขั้น 5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (L: Learning to exchange) ซึ่งผลการประเมินตรวจสอบรูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า ความถูกต้องอยู่ในระดับมาก ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก และผลการประเมินตรวจสอบคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการ พบว่า ความถูกต้องอยู่ในระดับมาก ความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ เขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกและมีการวัดผลและประเมินผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้
3. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกหลังการส่งเสริมสูงกว่าก่อนการส่งเสริมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด และมีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและวิจัย ในวงการวิชาการ ไม่อนุญาตการใช้ประโยชน์เพื่อการแสวงหากำไร
ข้อความที่ปรากฏในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้แต่ง ซึ่งวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ประเมินคุณภาพตามหลักวิชาการ ผลกระทบอันเกิดจากความคิดเห็นของผู้แต่งเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งเอง
References
ทัศนีย์ เศษรักษา. (2563). การศึกษาผลการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะของครูผู้สอนอนุบาล 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหารโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ธีรศักดิ์ เลื่อยไธสง. (2555). การนิเทศภายในโรงเรียน. สาสน์นิเทศการศึกษา, 4 (1), 2.
วชิรา เครือคำอ้าย. (2558). ตำราการนิเทศการศึกษา. เชียงใหม่: ส.การพิมพ์.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). การนิเทศการสอน สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วาสนา บุญมาก (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23(2), 269 – 280.
วิจารณ์ พานิช. (2554). สร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพลับลิเคชั่น จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลเรียน เพิ่มเวลารู้”. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุรัชดา ภูรับพา. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนบ้านพุทธรักษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(6), 222 - 237.
Herzberg, F. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.
Sweeller. (2006). The worked example effect and human cognition: Learning and Instruction.
New Jersey: EducationalTechnilogies.
UNESCO. (2015). World Heritage Centre. from World Heritage List. http://whc.unesco.org/en/list.