การพัฒนาเว็บฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะในความเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของนักศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี

Main Article Content

สุรศักดิ์ เส็งเอี่ยม
ดวงใจ พุทธเษม
กุลรภัส เทียมทิพร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเว็บฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะในความเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ 2) เพื่อศึกษาความรู้หลังจากการฝึกอบรมด้วยเว็บฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะในความเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ และ 3) เพื่อศึกษาระดับหลังจากการฝึกอบรมด้วยเว็บฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะในความเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี ที่ลงทะเบียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดลพบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) เว็บฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ด้านทักษะความเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของนักศึกษา 2) แบบประเมินคุณภาพของเว็บฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ ด้านทักษะความเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของนักศึกษา 3) แบบวัดความรู้ก่อน - หลัง การฝึกอบรมด้วยเว็บฝึกอบรม  เพื่อพัฒนาความรู้ด้านทักษะความเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของนักศึกษา และ 4) แบบวัดระดับทักษะความเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที 


ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า
1. ผลการพัฒนาเว็บฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะในความเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของนักศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี ได้ดำเนินการออกแบบขั้นตอนต่าง ๆ ของ ADDIE MODEL จำนวน 5 ขั้น ได้แก่ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผลโดยวิเคราะห์คุณภาพของเว็บฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะความเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ในด้านรูปแบบเว็บฝึกอบรมที่ออกแบบ ,ด้านการออกแบบเนื้อหาของเว็บฝึกอบรม และด้านการออกแบบเว็บฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการศึกษาความรู้ในความเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของนักศึกษา พบว่า นักศึกษามีความรู้ในความเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการศึกษาระดับทักษะในความเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของนักศึกษา พบว่า นักศึกษามีระดับทักษะในความเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์อยู่ที่ระดับ 4 คือ มีการแสดงทักษะการระบุพิกัดหรือตําแหน่งบนพื้นผิวโลก ทักษะการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ทักษะการรับรู้ระยะไกล ทักษะการรับรู้ระยะใกล้ และทักษะการจัดการพื้นที่ตามความเหมาะสมได้ชัดเจน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2561). กรอบแนวทางการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ.2560 – 2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). “ยุทธพงศ์” ชูนโยบายพัฒนาเกษตรกรสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานตามความต้องการของผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์.

ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2555). วารสารออนไลน์] ADDIE MODLE]. เข้าถึงได้จาก http://thanadol_edv.blogspot.com/2010/04/internet.html.

ชัชญาภา วัฒนธรรม. (2556). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมผ่านเว็บตามแนวคอนสตรัคดิวิซึม สำหรับครูตำรวจตระเวนชายแดน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชินพงษ์ ทีสุกะ (2561). การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยี). สกลนคร: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณัชชา วชิรหัตถพงศ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานโดยใช้ M-training และการฝึกอบรมแบบเผชิญหน้า เรื่อง การใช้กระดานฉริยะสำหรับครูสังกัดโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการฝึกอบรม). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธิดาภรณ์ ละม้ายศรี (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ฤทัยชนก จริงจิตร (2556). เจาะลึก “Smart Farmer” แค่แนวคิดใหม่หรือจะพลิกโฉมการเกษตรไทย. เข้าถึงได้จาก http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/1074-img.pdf.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2551). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency based HRM. ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

แสงเดือน บำรุงภูมิ. (2555). การพัฒนาเว็บฝึกอบรมแบบห้องสมุดเสมือนจริงเพื่อพัฒนาการรู้สารสนเทศ โดยใช้กรณีศึกษา เรื่อง การใช้สารสนเทศในห้องสมุด. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. (2563). พัฒนางานวิจัยการเกษตร. กรุงเทพฯ: สํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่1 – 12. (2561). แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์. เอกสารวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551). หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ศิลป์ปวิชญ์ จันทร์พุธ. (2560). ผลการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับการใช้เทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆที่มีต่อความสามารถในการออกแบบอินโฟกราฟิกของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อมรรัตน์ ศรีส่ง. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบผสมผสาน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศสำหรับครูโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cho, Y., Cho, K., Shin, C., Park, J., & Lee, E.-S. (2012). An Agricultural Expert Cloud for a Smart Farm (Vol. 164).

Put, et al. (2013). Web-based training improves on - field offside decision-making performance. Psychology of Sport and Exercise. 14(4): 577 - 585.