การใช้สถานการณ์จำลองในการจัดการเรียนการสอนเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ชรินทร์ทิพย์ จะโสรัตน์
โกวิท วัชรินทรางกรู
ชัษษพณขิ์ จันวงค์เดือน
วรัญญา ผ่านพินิจ

บทคัดย่อ

บทบาทที่สำคัญของครูผู้สอนระดับปฐมวัยในการจัดใช้สถานการณ์จำลองให้กับผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรม ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านร่างกาย 2) ด้านอารมณ์ - จิตใจ 3) ด้านสังคม และ 4) ด้านสติปัญญา โดยการสอน คือ กระบวนการในการดำเนินกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ หน้าที่สำคัญของผู้สอน คือ ช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนเกิดการเรียนรู้ หรือมีความรู้และทักษะตามที่หลักสูตรได้วางไว้ ซึ่งเครื่องมือที่ช่วยให้ครูผู้สอนส่งเสริมพัฒนาให้กับผู้เรียน ได้แก่ สถานการณ์จำลอง เป็นกระบวนการส่งเสริมพัฒนาการให้กับผู้เรียนโดยการสร้างสถานการณ์จำลองอย่างมีเป้าหมาย ซึ่งครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก สร้างบรรยากาศ แนะนำ และสนับสนุนให้กับผู้เรียนได้ เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงจากการที่ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมตามสถานการณ์จำลองที่สร้างขึ้นอย่างเหมาะสม ซึ่งสถานการณ์จำลองประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ขั้นดำเนินการสอน ขั้นตอนอภิปรายและสรุปผล ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเข้าร่วมสถานการณ์จำลองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชาญชัย ยมดิษฐ์. (2548). เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: หลักพิมพ์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปเรชั่น.

ทิศนา แขมมณี. (2562). กระบวนการสถานการณ์จำลอง วิธีสอน (Teaching Methods) : สถานการณ์จำลอง. เข้าถึงได้จาก http://skruteachingmethods.blogspot.com/p/blog-page_16.html.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2554). การปรึกษาเชิงจิตวิทยา. นนทบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ยุพิน บุญชูวงศ์. (2556). หน่วยทะเบียนและพัฒนาวิชาการ งานบริการการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ (ข่าวสารวิชาการประจำเดือนเมษายน 2556). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เสริมศรี ลักษณศิริ. (2540). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูสวนดุสิต.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

ไสว ฟักขาว. (2544). หลักการสอนสำหรับการเป็นครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฎจันทรเกษม.

อาภาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ ฯ : โอเดียนสโตร์.

อรกช อุดมสาลี. (2555). พฤติกรรมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการใช้สถานการณ์จำลอง. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.