การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคพาโนรามา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคอนสวรรค์ ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความด้วยเทคนิคพาโนรามา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความด้วยเทคนิคพาโนรามา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านคอนสวรรค์ ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มอย่างง่าย (Simple random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความด้วยเทคนิคพาโนรามา 2) แบบวัดความสามารถการอ่านจับใจความ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นแบบ ทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ การหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของแบบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ (IOC) ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งฉบับ โดยใช้วิธีการของโลเวท (Lovett) การหาความเชื่อมั่นของแบบประเมินความสามารถการอ่านจับใจความ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Coefficient) ของครอนบัค (Cronbach) สถิติที่ใช้หาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความและความสามารถการอ่านจับใจความระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้สูตร t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านการอ่านจับใจความด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคพาโนรามา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับดีขึ้นไป ซึ่งมีคะแนนความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาพรวม (= 3.25, S.D. = 0.18) อยู่ในระดับดีมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบด้านการตั้งคำถาม อยู่ที่ (= 3.49, S.D. = 0.18) อยู่ในระดับดีมาก ด้านการตอบคำถามมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่(= 3.76, S.D. = 0.21) อยู่ในระดับดีมาก ด้านการบันทึกความรู้จากการอ่าน มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ (= 3.32, S.D.= 0.24) อยู่ในระดับดีมาก ด้านเขียนสรุปใจความสำคัญ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ (= 2.91, S.D. = 0.11) อยู่ในระดับดี และด้านการประเมินค่ามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ (= 2.76, S.D.= 0.19) อยู่ในระดับดี 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคพาโนรามา มีผลคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (= 24.68, S.D.= 1.49) สูงกว่าก่อนเรียน (= 17.59, S.D.= 2.86) โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Downloads
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลิขสิทธิ์เป็นของวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อนุญาตให้เผยแพร่เพื่อการศึกษาและวิจัย ในวงการวิชาการ ไม่อนุญาตการใช้ประโยชน์เพื่อการแสวงหากำไร
ข้อความที่ปรากฏในบทความเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้แต่ง ซึ่งวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ประเมินคุณภาพตามหลักวิชาการ ผลกระทบอันเกิดจากความคิดเห็นของผู้แต่งเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งเอง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องตน. พิมพครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสนจัดพิมพ.
พนมวัลย์ แดงบุสดี. (2556). การจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ กลุมสาระการเรียนรู
ภาษาไทยด้วยเทคนิคการสอนแบบพาโนรามาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 5.
ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รุ่งทิวา ฉิมกูล. (2562). ได้ศึกษาผลการใช้วิธีสอนแบบพาโนรามาร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อความ
สามารถการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสระไคร จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย -ธรรมาธิราช. 7(7): 56-72.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2554). เอกสารประกอบการสอนวิชา0506703การพัฒนาการเรียนการสอน.
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศรีวรรณ ศรีสวัสดิ์. (2559). ทักษะทางภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
สมบัติ ท้ายเรือคํา. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์: ประสาน
การพิมพ์.
สิริวรรณ ชัยชนะพีระกุล. (2564). การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทย โดยใช้วิธีการสอนแบบ
พาโนรามาร่วมกับหนังสือวรรณกรรมเยาวชนสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช
ภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สุปราณี พัดทอง. (2559). ทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.
อัญชญา สมเขาใหญ่. (2562). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปที่ 5 ระหว่างกลุมที่ได้รับการสอนแบบ PANORAMA กับกลุมที่ได้รับการสอนแบบ
ปกติ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยรามคําแหง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
รามคําแหง.
อัญชลี พันสุภัค. (2556). ผลการสอนการอ่านภาษาอังกฤษด้วยวิธี PANORAMA ร่วมกับเทคนิค KWL-
PLUS ที่มีผลต่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นปฐม
ศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Edward, Peter. (1973). PANORAMA : A Study Technique. Journal of Reading. 17, 132-135.