จากความเชื่อความศรัทธาสู่การสร้างสรรค์นาฏพุทธบูชา ชุดศรีศรัทธาบูชาองค์พระสุภัทรบพิตร

Main Article Content

ภูวนัย กาฬวงศ์
ชลาลัย วงศ์อารีย์
นฤมล จิตต์หาญ

บทคัดย่อ

เนื้อหาในบทนี้ผู้เขียนต้องการนำเสนอให้เห็นถึงความเชื่อและความศรัทธาของผู้คน ที่ทำให้เกิดเป็นแนวทางในการกำหนดชีวิตให้เกิดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับจารีตประเพณี และแนวทางของกิจกรรมต่าง ๆ ในสังคม โดยเมื่อมนุษย์เกิดความเชื่อในสิ่งต่าง ๆ ก็จะทำให้เกิดความศรัทธา ซึ่งความศรัทธาเป็นความเชื่ออย่างมีเหตุผล ทำให้เกิดกิจกรรมทางสังคมจนเกิดเป็นประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงาม ดังเช่น ประเพณีขึ้นเขากระโดง นับเป็นประเพณีที่เกิดจากความศรัทธาของผู้คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขึ้นไปสักการะรอยพระพุทธบาทและพระสุภัทรบพิตร ซึ่งเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ จนกลายเป็นประเพณีที่ดีงามและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน จากพลังความศรัทธาที่เกิดกลายเป็นประเพณีดังกล่าวจึงได้มีการสร้างสรรค์นาฏพุทธบูชา ชุดศรีศรัทธาบูชาองค์พระสุภัทรบพิตร เพื่อใช้ในการบวงสรวงพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวบุรีรัมย์ขึ้น เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาของชาวบุรีรัมย์ที่มีต่อพระสุภัทรบพิตร โดยใช้วิธีการสร้างสรรค์ผ่านองค์ประกอบทางนาฏศิลป์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่านอกจากการรวมตัวของผู้คนเพื่อรำบวงสรวงเป็นอามิสบูชาในครั้งนี้แล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงการสร้างความสามัคคีของผู้คนในชุมชนผ่านกิจกรรมการฟ้อนรำและเสริมสร้างจิตสำนึกของชาวบ้านให้มีความหวงแหนในประเพณีวัฒนธรรมอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ครอบครัวชิดชอบ. (2559). บุรีรัมย์ : ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพคุณแม่ละออง ชิดชอบ. ม.ป.ท: ม.ป.พ.

ดนัย ไชยไยธาลัทธิ. (2538). ศาสนา และระบบความเชื่อกับประเพณีนิยมในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพิ์โอเดียนสโตร์.

ธนวรรธน์ นิธิปภานันท์. (2558). กระบวนการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว: กรณีศึกษา เพลินวาน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสหวิทยาการ). มหาวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิพัทธพงศ์ พุมมา. (2555). การโหยหาอดีตในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 3, 54.

ประวิทย์ ฤทธิบูลย์. (2558). นาฏศิลป์ไทย: สื่อทางวัฒนธรรมที่มีกว่าความบันเทิง. สืบค้น 1 เมษายน 2566 จาก http://www.repository.rmutt.ac.th/handle/123456789/2288

เรณู โกศินานนท์. (2543). นาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช จำกัด.

ลักขณา แสงแดง. (2554). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนจริยธรรมการวิจัยนาฏยศิลป์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิญญู ผลสวัสดี. (2536). พิธีกรรมการเลี้ยงผีบรรพบุรุษของชาวผู้ไท ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา). มหาวิทยาลัยศรันครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ศรีนวล แกงตู่ และคณะ. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการวัฒนธรรม: กรณีศึกษา ประเพณีขึ้นภูเขาไฟเขากระโดง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารรมยสาร, 16(3), 1-18.

สุมณฑา คณาเจริญ. (2548). ศรัทธาในพระพุทธศาสนา. วารสารวงการคร.ู 2(18), 98-101.

เสาวณิต วิงวอนและคณะ. (2550). ตำราพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ตามพระมติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อรรถพล จันศรีละมัย. (2564). ประเพณีประดิษฐ์กับการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม ในงานเทศกาลภูเขาไฟบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม