การส่งเสริมการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3

Main Article Content

อรุณสวัสดิ์ แก้วพิภพ
สาโรจน์ เผ่าวงศากุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและ 2) เปรียบเทียบการส่งเสริมการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามสถานศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 303 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. การส่งเสริมการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านกำกับ ดูแลคุณภาพ ด้านการจัดทำกรอบหลักสูตรท้องถิ่น และด้านการส่งเสริม สนับสนุน
          2. การเปรียบเทียบการส่งเสริมการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยภาพรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดทำกรอบหลักสูตรท้องถิ่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านการส่งเสริม สนับสนุน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นจึงทำการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ พบว่า สถานศึกษาขนาดใหญ่มีการส่งเสริมการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มากกว่าสถานศึกษาขนาดกลาง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวทางการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่ง

สินค้า และพัสดุภัณฑ์.

. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

งามนิจ กุลกัน. (2555). การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฉัตรดนัย ศรีสา. (2564). ปัญหาการนำหลักสูตรไปใช้ในสถานศึกษา.

ค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/614845

เทิดศักดิ์ บุญรินทร์. (2555). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกประสบการณ์งานอุตสาหกรรม

ของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิทัศน อินทร์ฉ่ำ. (2556). แนวทางการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ประสิทธิ์ สายสินธุ์. (2552). การศึกษาการบริหารหลักสูตรท้องถิ่นของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วิชัยร พลดี. (2548). กระบวนการบริหารหลักสูตร. ค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/411153

ศึกษาธิการ, กระทรวง. 2546. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2)

พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำหนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.

และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

เอกวิทย์ กนกพิชญ์กุล. (2544). การบริหารหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏเชียงราย.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.