การศึกษาคุณลักษณะของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ภัทรหทัย ภู่สวัสดิ์
สุนันทนา กุศลประเสริฐ
รจนาภรณ์ มีตา
เริงฤทธิ์ คำหมู่
ลัลนา ปลั่งศรีรัตน์
สุรัสวดี เสาว์บุปผา
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก และ 2) เปรียบเทียบคุณลักษณะของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา2565 จำนวน 76 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของครูแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 20 ข้อ ตรวจสอบความเที่ยงตรงได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.7-1.0 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทอสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. ครูโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก มีคุณลักษณะของครูในยุคดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
          2. การเปรียบเทียบคุณลักษณะของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามเพศและประสบการณ์การทำงาน สรุปได้ ดังนี้
            2.1 ครูที่มีเพศต่างกัน มีคุณลักษณะของครูในยุคดิจิทัล โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
            2.2 ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีลักษณะของครูในยุคดิจิทัล โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 5 ปี กับมากกว่า 10 ปีขึ้นไป มีคุณลักษณะด้านผู้มีเทคนิคในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่หลากหลายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยศ เดชสุระ. (ม.ป.ป.). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21. เข้าถึงได้จาก

http://edu.aru.ac.th/comedu/index.php/academic/research/41-article1

ธีระ รุญเจริญ. (2562). แนวทางการบริหารการศึกษาในยุคนี้ Education Thailand 4.0. เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษเรื่องแนวโน้มการบริหารจัดการศึกษา.

นันทนัช สุขแก้ว. (2562). ทักษะครูในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2564). ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. ในไพฑูรย์ สินลารัตน์และนักรบหมื่นลี้ (บรรณาธิการ). การศึกษาเชิงผลิตภาพ: การเรียนการสอนเพื่อสร้างผลผลิตและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทราพร ผาสุก. (2563). บทบาทครูในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 8(32), 204-214. https://jeal.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=822

ยืน ภู่วรวรรณ. (2558). การเป็นครูในยุคดิจิตอล. เข้าถึงได้จาก https://shorturl.asia/OK4bU.

รักษิต สุทธิพงษ์. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิตอล.พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ลดาวัลย์ เจริญศิริ. (2565). บทบาทครูในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). รายงานการศึกษา เรื่องแนวปฏิบัติของการสร้างและส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Jayendrakumar N. Amin (2016). Redefining the Role of Teachers in the Digital Era. The International Journal of Indian Psychology: India.

Marc, P. (2010). Educational Technology for School Leaders. California, United States of America.