ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างราคาของบิทคอยน์และปัจจัยเศรษฐกิจมหภาค
คำสำคัญ:
บิทคอยน์, ปัจจัยเศรษฐศาสตร์มหภาค, แบบจำลอง ARDLบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาของบิทคอยน์ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาบิทคอยน์ 2 ช่วงเวลา คือ ยุคก่อนเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (ช่วงปีพ.ศ.2561-2562) และยุคที่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโรคโควิด 19 (ช่วงปีพ.ศ.2563-2564) โดยใช้ข้อมูลรายสัปดาห์ เพื่อทดสอบปัจจัยทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้แก่ ราคาทองคำ, ราคาน้ำมันดิบดับเบิลยูทีไอ, ดัชนีความ ผันผวน, ดัชนีเอสแอนด์พี 500, ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์, ดัชนีแนสแด็ก, ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอเมริกา, และอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกา โดยการทดสอบแบ่งขั้นตอนการศึกษาออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ทดสอบความนิ่งของข้อมูล (Stationary Test) (2) การประมาณความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว (Cointegration Test) (3) การทดสอบการปรับตัว ในระยะสั้น (Error Correction Model) และ (4) ทดสอบความเป็นเหตุเป็นผลของตัวแปร (Granger Causality Test)
ผลการศึกษาพบว่าความนิ่งของตัวแปรใน 2 ช่วงเวลา คือ ยุคก่อนเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (ช่วงปีพ.ศ. 2561-2562) และยุคที่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (ช่วงปีพ.ศ. 2563-2564) ตัวแปรมีคุณสมบัติทั้งที่เป็น I(0) และ I(1) ดังนั้นการทดสอบความสัมพันธ์ระยะยาว (Cointegration) ที่เหมาะสม คือ Autoregressive Distributed Lag (ARDL) ในส่วนของความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวยุคก่อนเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (ช่วงปีพ.ศ. 2561 - 2562) พบว่า ดัชนีดาวโจนส์ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอเมริกาและอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกามีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อราคาของบิทคอยน์ ในขณะที่ในยุคที่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (ช่วงปีพ.ศ. 2563 - 2564) พบว่า ราคาทองคำ, ราคาน้ำมันดิบดับเบิลยูทีไอ, ดัชนีเอสแอนด์พี 500, ดัชนีแนสแด็กและดัชนีดอลลาร์สหรัฐอเมริกามีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อราคาของบิทคอยน์ สำหรับการปรับตัวระยะสั้น พบว่ายุคก่อนเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (ช่วงปีพ.ศ. 2561 - 2562) พบว่า ระบบมีการปรับตัวได้เท่ากับร้อยละ 11.98 ของการเบี่ยงเบนเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาว ในขณะที่ในยุคที่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (ช่วงปีพ.ศ. 2563 - 2564) พบว่าระบบมีการปรับตัวได้เท่ากับร้อยละ 30.51 ของการเบี่ยงเบนเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาว
ในส่วนของการทดสอบผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิดต่อโครงสร้างของความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพ พบว่าปัจจัยที่มีค่าสัมประสิทธิ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญในช่วงการแพร่ระบาดของโควิดคือ ราคาทองคำ และดัชนีดาวโจนส์
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
All opinions and contents in the CMJE are the responsibility of the author(s). Chiang Mai University Journal of Economics reserves the copyright for all published materials. Papers may not be reproduced in any form without the written permission from Chiang Mai University Journal of Economics.
ข้อคิดเห็นที่ปรากฏและแสดงในเนื้อหาบทความต่างๆในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นความเห็นและความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความนั้นๆ มิใช่เป็นความเห็นและความรับผิดชอบใดๆของวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความ เนื้อหา และข้อมูล ฯลฯ ในวารสารเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จากวารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่