“ความจริง” ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย: มุมมองทางกฎหมายในวรรณกรรมเรื่อง รากบุญ ของ ช่อมณี
Main Article Content
บทคัดย่อ
กระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทยให้ความสำคัญกับ “ความจริง” อย่างมาก เพราะเชื่อว่าทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม ผู้เสียหาย รวมถึงจำเลยได้ การสืบสวนสอบสวนหรือพิจารณาคดีของศาลจึงดำเนินไปเพื่อให้ความจริงปรากฏ บทความนี้จะศึกษากฎหมายผ่านงานวรรณกรรม โดยใช้มุมมองเชิงวิพากษ์และนิติศาสตร์แนวสตรีนิยมวิเคราะห์ความหมายและการสืบหา “ความจริง” ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย ในนวนิยายเรื่อง รากบุญ ของ ช่อมณี เพื่อเปิดเผยให้เห็นความคิดความเชื่อที่แฝงอยู่ในกระบวนการสืบหาความจริงนั้น จากการศึกพบว่า นวนิยายสื่อให้เห็น “ความจริง” ทางกฎหมายในหลายมิติ โดยความจริงมีความสำคัญต่อผู้เสียหายและการพิสูจน์ความผิด การสืบหาความจริงยังช่วยเปิดเผยให้เห็นชีวิตจิตใจและตัวตนของผู้เสียหาย รวมถึงสะท้อนระบบคิดของสังคมที่เกี่ยวกับกฎหมายอันเป็นความจริงในอีกมิติที่มักไม่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม ในวรรณกรรม ตัวละครหญิงถูกสร้างให้มีบทบาทสำคัญในการคลี่คลายคดีและช่วยเปิดเผยความจริงด้วยวิธีสืบแบบเฉพาะ เสียงของคนตายที่เปล่งให้นางเอกได้ยินสะท้อนการเรียกร้องความเป็นธรรมและความต้องการให้ความจริงปรากฏ ขณะเดียวกันก็สื่อให้เห็นความขาดพร่องเว้าแหว่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทยบางประการและการถูกเอารัดเอาเปรียบของคนชายขอบในสังคมด้วย
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย